ตรวจสอบและทบทวนบทที่2
ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น
การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ
มาตรฐานและตัวชี้วัด จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจ
แล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร และสามารถทําอะไรได้
ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ(declarative knowledge) (เช่น
ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง) และข้อความ ที่เป็นการปฏิบัติ
โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) ( เช่น ผู้เรียน สามารถที่จะปฏิบัติหรือกระทํา เรื่อง...)
เรื่องโครงสร้างของเปลือกโลก
สาระการเรียนรู้
เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร
ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ
เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ
ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร
ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่
สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
ชั้นที่หนึ่ง:
ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด
ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง
สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น
ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป
ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม
ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร
ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป
และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล
แมนเทิล
แมนเทิล
(mantle
หรือ Earth’s mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป
มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร
บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก
เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 – 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่
เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์
แก่นโลก
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ
5,515
กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ
แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ
ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว
การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของ โลก
ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core)
มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ
แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม
มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้
และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
§
แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ
2,900 – 5,000 กิโลเมตร
ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง
มีอุณหภูมิประมาณ 6200 – 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0
และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
§
แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี
มีรัศมีประมาณ 1,000
กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 – 6,200 และมีความกดดันมหาศาล
ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง
ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0
สภาพบรรยากาศ
สภาพอากาศของโลก
คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
1. โทรโพสเฟียร์
เริ่มตั้งแต่ 0-10
กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยกาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก
และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา
2. สตราโตสเฟียร์
เริ่มตั้งแต่ 10-35
กิโลเมตรจากผิวโลก
บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลื่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฟุ่นเพิ่มมา เล็กน้อย
3. เมโสสเฟียร์
เริ่มตั้งแต่35-80
กิโลเมตร จากผิวโลก
บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป
4. ไอโอโนสเฟียร์
เริ่มตั้งแต่ 80-600
กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์
5. เอกโซสเฟียร์
เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ
และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ
โลกมีอุณหภูมิ
15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
โลกมีรูปทรงกระบอกแบนขั้ว
หมายความว่ามีรูปทรงกระบอกแต่บริเวณขั้วโลกทั้งสองแบนเล็กน้อย
และโป่งออกทางเส้นศูนย์สูตร ความยาวรอบโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12,700 กิโลเมตร
จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกคือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกคือ ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา
ซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล
เนื่องจากโลกมีลักษณะโป่งออกทางตอนกลางคือเส้นศูนย์สูตร
ทำให้จุดที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางโลกคือยอดเขาชิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อเป็นการเผยแพร่สื่อที่เป็นองค์ความรู้แก่ผู้อื่น
2. เพื่อเรียนรู้เกี่ยวเนื้อหาในรายวิชาอื่นๆได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างเว็บไซน์
4. เพื่อเป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
- การอธิบาย
การเขียน การพูดหน้าชั้นเรียน
2. ความสามารถในการคิด
2.1 ทักษะทั่วไป
- การสังเกต การสำรวจ การคิดวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ การจำแนกประเภท
การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ การสร้างคำอธิบาย การอภิปราย การสื่อความหมาย
2.2 ทักษะเฉพาะ
- การออกแบบและประดิษฐ์ การทำกิจกรรมทดลองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การสืบค้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
- การแก้ปัญหาขณะปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง
- การแก้ปัญหาขณะปฏิบัติออกแบบและประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการกลุ่ม
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น