การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน


จุดมุ่งหมายมี 2 ลักษณะคือ
จุดมุ่งหมาย (goals) ที่มีลักษณะกว้างๆ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ทันที
จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะที่สังเกตเห็นพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้ บางครั้งเรียกว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ (performance objective) จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ (poyential performance) จุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ (typical performance)
        การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนสื่อความหมายให้เข้าใจในเพียงนัยหนึ่งเดียว
        การระบุสมรรถภาพให้ชัดเจน ควรได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรียนรู้จบรายวิชาแล้วมีความสามารถที่จะทำอะไรได้โดยที่ก่อนเรียนรู้รายวิชานั้นๆยังไม่สามารทำได้
การเชื่อมโยงอดีตกับอนาคตถ้าเป็นไปได้อยากมโนทัศน์จากชั้นเรียนที่ผ่านมาพยายามเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ที่จะเรียนในอนาคต
จุดมุ่งหมายกับการทดสอบถ้าเราเขียนจุดมุ่งหมายได้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาจะทำให้สร้างแบบทดสอบได้ง่ายอย่างสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้ได้เป็นอย่างดี

การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก ABCD
A แทน Audience หมายถึง ผู้เรียนที่แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายและกำหนดเวลา
แทน Behavior หมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังจากผู้เรียนโดยเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้ 
แทน Condition หมายถึง สภาพการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้
แทน Degree หมายถึง ระดับเกณฑ์การวัดที่กำหนดขึ้นมาให้ผู้เรียนปฏิบัติ

การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก SMART
1. S-Sensible & Specific จุดมุ่งหมายต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจนจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ดีต้องมีความเป็นไปได้และชี้เฉพาะ
2. M-Measurable จุดมุ่งหมายต้องสามารถรับผลได้ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลว่าผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรประสบความสำเร็จหรือไม่
3. A-Attainable & Assignable จุดมุ่งหมายต้องเป็นไปได้และผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติได้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
4. R-Reasonable & Realistic จุดมุ่งหมายต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลกันและเป็น      ไปได้จริง
5. T-Time Available  จุดมุ่งหมายต้องมีกำหนดเวลาเป็นไปได้ตามเวลาเมื่อเวลาเปลี่ยนไปหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้จุดมุ่งหมายก็ควรเปลี่ยนไปด้วย


จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน
Harris and Carr (1996 รุ่งนภา นุตราวงศ์, ผู้แปล 2545 14-16) ให้คำจำกัดความของมาตรฐานเนื้อหา (Content Standard) และมาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน (Student Performance Standard) ดังนี้
1. องค์ความรู้ที่สำคัญ (Essential knowledge) ระบุถึงแนวความคิดประเด็นปัญหาทางเลือกกฎเกณฑ์และความคิดรวบยอดในวิทยาการต่างๆที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น
ผู้เรียนสามารถอธิบายช่วงเวลาและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์และวิเคราะห์ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นชุมชนในประเทศและในภูมิภาคต่างๆของโลก
ผู้เรียนสามารถเข้าใจประวัติความเป็นมาและโครงสร้างของภาษาอังกฤษ (ประโยคย่อหน้าบทความ)
ผู้เรียนสามารถเข้าใจธรรมชาติและการทํางานของเซลล์ทั้งการทำงานเป็นเอกเทศและการทำงานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน
2. ทักษะ (Skillsเป็นวิธีการคิดการทำงานการสื่อสารและการศึกษาสำรวจ ตัวอย่าง
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยายและอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติในการเก็บรวบรวมข้อมูลตีความเปรียบเทียบและสรุปผลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงอื่นๆในสังคม
3. พัฒนาการด้านจิตใจ (Habits of mind) การเรียนรู้และประสบการณ์จากการศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนมีผลต่อการพัฒนาด้านจิตใจของผู้เรียนรวมถึงกระบวนการในการศึกษาค้นคว้าการแสดงข้อมูลหลักฐานสนับสนุนความคิดการอภิปรายโต้แย้งและความพึงพอใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่นตัวอย่าง
ผู้เรียนสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเองโดยการสร้างเกณฑ์เพื่อใช้ประเมินงานที่มีคุณภาพ
ผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การเป็นผู้นำ และความมั่นคงในตนเอง

มาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน
มาตรฐานการปฏิบัติ (Student Performance Standards) จะบอกถึงคุณภาพโดยที่มาตรฐานเนื้อหาจะระบุถึงสิ่งใดที่ผู้เรียนควรรู้และทักษะใดที่ผู้เรียนควรทำได้มาตรฐานการปฏิบัติจะบอกถึงระดับคุณภาพและระดับที่ผู้เรียนต้องรู้หรือต้องทำสิ่งนั้นได้ ตัวอย่าง
กรณีที่มาตรฐานเนื้อหาระบุว่าผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลจากสื่อภาพและบทอ่านจากสื่อต่างๆอย่างหลากหลาย
มาตรฐานการปฏิบัติอาจระบุว่าผู้เรียนควรอ่านหนังสืออย่างน้อยที่สุด 25 เล่มต่อปีเลือกอ่านบทอ่านที่มีคุณภาพทางที่เป็นเรื่องอมตะและเรื่องราวที่ทันสมัยจากหนังสือวรรณกรรมสำหรับเด็กหรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆเช่น จากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียนและสื่อเทคโนโลยี
Wiggins (1994) จัดกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ 4 กลุ่มคือ
1. มาตรฐานผลลัพธ์หรือผลกระทบ (Impact) เป็นมาตรฐานที่ระบุผลที่ต้องการจากการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งของผู้เรียน เช่น กำหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ฟังหรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนอนาคต เป็นต้น
2. มาตรฐานกระบวนการ (Process) เป็นมาตรฐานที่สะท้อนยุทธวิธี เทคนิค วิธีการที่เหมาะสมที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น มาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์อย่างชัดเจน หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารได้อย่างสละสลวยสัมพันธ์กันหรือให้ผู้เรียนใช้กระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างหรือปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์
3. มาตรฐานเนื้อหา (Content) เป็นมาตรฐานที่ระบุเนื้อหาสาระ ความคิดรวบยอด แนวความคิดและข้อมูลต่างๆ เช่น ผู้เรียนรู้สมบัติของสสาร มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายและความต้องการของตลาด เป็นต้น
มาตรฐานที่แสดงกฎหรือรูปแบบ (Rule or form) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับสูตร กฎเกณฑ์ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะ ปริมาตร ปริมาณ อัตราส่วน ตัวอย่าง ผู้เรียนสร้างกราฟ ซึ่งมีข้อมูลกำกับและใช้สีได้อย่างถูกต้องมาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารต่างๆในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
การกำหนดมาตรฐานในหน่วยการเรียนให้มาจากหลายมาตรฐาน จึงจะช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินมีความครอบคลุมยิ่งขึ้นการกำหนดมาตรฐานที่เป็นกระบวนการก็จะไม่มีความหลากหลายหากไม่มีเนื้อหาหรือการกำหนดมาตรฐานที่เน้นเนื้อหาเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร หากไม่มีการนำกระบวนการนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้