บทที่2


กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (Sitting Learning Goals)

กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องระบุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติหรือกระบวนการ (procedural knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้

จุดหมายการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (learning goals) ความปรารถนาอยากเรียนรู้ ความปรารถนาอาจมาจากบุคคล ประสบการณ์ สถานการณ์พอเศษหรืออื่นๆ David Henry Felman (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 : 140) อารี สัณหฉวี ผู้แปล ความเก่ง 7 ชนิด ค้นหาและพัฒนาพหุปัญญาในตน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ศาสตร์ตราจารย์สาขาจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยทัฟต์ เรียก สิ่งที่จุดประกายความปรารถนาที่จะเรียนรู้นี้ว่าประสบการณ์ตกผลึก (crystallizing experiences) ประสบการณ์ประทับใจหรือประสบการณ์ตกผลึกนี้ก็จะต้องมีการพัฒนาฟูมฟัก Alfred North Whitehead (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 : 141) กล่าวว่าในการพัฒนาฟูมฟักมี 3 ขั้น เรียกว่า จังหวะของการศึกษา (rhythm of education) ขั้นที่หนึ่ง คือ ระยะหลงรัก (romance) ระยะนี้เป็นความรื่นเริง มีชีวิตชีวาที่จะเรียนรู้ ขั้นที่สอง คือ ระยะของความแม่นยำ (precision) ระยะนี้จะต้องศึกษาฝึกหัดฝึกซ้อมให้ถูกต้องแม่นยำและขั้นที่สาม คือ ระยะของความคล่องแคล่วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ (generalization) การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาปัญญา ซึ่งอาจวางแผนเพื่อพัฒนาปัญญาด้านใดด้านหนึ่งมาศึกษาและฝึกหัด ในการวางแผนพัฒนาปัญญานี้ผู้ที่ถนัดด้านมิติอาจทำเป็นเส้นเวลาหรือรูปภาพ ผู้ที่ถนัดด้าน                              มนุษยสัมพันธ์อาจจะเล่าเรื่องให้เพื่อนสนิทฟัง เป็นต้น

จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
Bloom และคณะ (1956) ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาท จิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จาการเรียนการสอน ในการที่จะประสบความสำเร็จตามจุดหมายของการศึกษา ขอบเขตการเรียนรู้ทั้งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้ ดังภาพประกอบที่ 3





ภาพประกอบที่ 3 บูรณาการของพุทธพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย

อนุกรมวิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมวิธานของการศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมวิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมวิธานด้านพุทธพิสัยของบลูมและคณะ
พุทธิพิสัย รวมถึงความรู้ ความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า พุทธพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมวิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภทความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมวิธานนี้มีประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ

ตารางที่1 อนุกรมวิธานทางปัญญาของบลูม
ระดับพฤติกรรม
นิยาม
      1.       ความรู้
เกี่ยวข้องกับความจำและการระลึกได้ของข้อความจริงเฉพาะคำต่างๆ
สัญลักษณ์ วันที่ สถานที่ ฯลฯ
กฎ แนวโน้ม ประเภท วิธีการ ฯลฯ
หลักการ ทฤษฎี วิธีการจัดการแนวคิด
      2.       ความเข้าใจ
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ การเรียนรู้ แปลความ สรุปความ ตีความ ย่อความ ขยายรายละเอียด ทำนายผล และผลที่ติดตามมา
      3.  การนำไปประยุกต์ใช้
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้ที่หลากหลายสถานการณ์ การใช้หลักการ และทฤษฎีการใช้ความเป็นนามธรรม
      4.       การวิเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการแตกส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยระบุหรือแยกส่วนขององค์ประกอบค้นพบปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักการ
      5.       การสังเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการผสมผสานองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ระบุหรือเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นการใหม่ๆ จัดการผสมผสานส่วนย่อยต่างๆเข้าด้วยกันสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
      6.       การประเมินค่า
เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณค่าของวัตถุและวิธีการ พิจารณาในรูปของมาตรฐานภายใน พิจารณาในรูปของมาตรฐานภายนอก


ตารางที่ 2 อนุกรมวิธานทางเจตคติของบลูม
ระดับพฤติกรรม
นิยาม
      1.       การรับรู้
เกี่ยวข้องกับความตั้งใจทางอ้อมที่มีต่อสิ่งกระตุ้น การรับรู้ข้อความจริง ความถูกต้อง เหตุการณ์หรือโอกาส ความตั้งใจในการสังเกต หรือความตั้งใจที่มีต่อภาระงาน  เลือก
สิ่งกระตุ้น
       2.       การตอบสนอง
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น การยินยอมตามทิศทาง การอาสาสมัครด้วยตนเอง ความพึ่งพอใจหรือความร่าเริง
       3.       ค่านิยม
การให้คุณค่ากับบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง แสดงถึงความเชื่ออย่างแข็งขันในบางสิ่งบางอย่าง แสดงถึงความชอบมากกว่าในบางสิ่งบางอย่าง แสวงหากิจกรรมเพื่อบางสิ่งบางอย่างข้างหน้า
       4.       การจัดการ
เป็นการจัดคุณค่าให้มีระบบ เห็นคุณค่าที่ยึดถือมีความสัมพันธ์กับคุณค่าอื่นๆ ก่อตั้งคุณค่าที่มีลักษณะเด่น เป็นค่านิยมของตนเอง
       5.       คุณลักษณะ
เป็นการกระทำที่สอดคล้องกับระบบค่านิยมหรือคุณค่าภายใน การกระทำที่สอดคล้องในทิศทางที่มีความแน่ใจ การพัฒนาปรัชญาชีวิตที่มีความคงเส้นคงวาทั้งหมด


ตารางที่ 3 อนุกรมวิธานทางทักษะพิสัย
พฤติกรรมการเรียนรู้
นิยาม
การเคลื่อนไหวทั่วไป
(Generic movement)
ปฏิบัติการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการซึ่งให้ความสะดวกต่อการพัฒนาแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์
       1.       การรับรู้
การจำท่าการเคลื่อนไหว รูปร่าง แบบและทักษะโดยอวัยวะรับความรู้สึก
       2.       เลียนแบบ
เลียนแบบ แบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะมนเชิงของผลที่ได้รับจากการเรียนรู้
       3.       สร้างแบบ
จัดและใช้ทุกส่วนของร่างกายในทิศทางที่ผสมกลมกลืน เพื่อให้ประสบความสำเร็จในแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ
การเคลื่อนไหวตามปกติ
(Ordinary movement)
การพบกับข้อกำหนดของภาระงานการเคลื่อนไหว ผ่านกระบวนการของการจัดการการแสดงออกและการแก้ไขแบบการเคลื่อนไหวและทักษะ
       1.       กรปรับตัว
ปรับแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ เพื่อให้พบภาระงานเฉพาะอย่างที่ (adapting) ต้องการ
       2.       การแก้ไข
ความกระตือรือร้นที่จะเคลื่อนไหวอย่างราบเรียบ แบบการเคลื่อนไหวหรือ (refining) ทักษะที่แสดงออกมีประสิทธิภาพในเชิงแห่งผลของกระบวนการปรับปรุง เช่น
1.     ขจัดการเคลื่อนไหวที่แทรกซ้อน
2.     รอบรู้ถึงความสัมพันธ์ของอวกาศกับจังหวะ
3.     การแสดงออกทางนิสัยภายใต้สภาวการณ์ที่ซับซ้อน
พฤติกรรมการเรียนรู้
นิยาม
การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์
(Creative moment)
กระบวนการในการประดิษฐ์ หรือสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยทักษะซึ่งจะสนองความมุ่งหมายของผู้เรียน
1.       ความหลากหลาย
ประดิษฐ์หรือสร้างทางเลือกในการปฏิบัติแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ (Varying)
2.       การดัดแปลง
การเริ่มท่าการเคลื่อนไหว การริเริ่มผสมผสานท่าการเคลื่อนไหว ไม่ต้องเตรียมตัว (improvising)
3.       แต่งท่าการเคลื่อนไหว
สร้างสรรค์การออกแบบการเคลื่อนไหว หรือทักษะที่มีคุณค่า (composing)


จิตพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้ เกี่ยวข้องกับว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้ดับตนเอง และเป็นการพิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็เกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อน มีความแข็งแรง และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะมีความพยายามหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ แก้ไขผ่านข้อมูลย้อนกลับมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ธรณีประตู การหกล้ม พรมผู้ปกครอง และสุดท้าย ทักษะการแสดงออกซึ่งมีคุณค่าต่อวัยเด็กตอนต้น

การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
แอนเดอร์สัน และแครทโฮล (2001) ได้ปรับปรุงจุดม่งหมายการศึกษาของบลูม (Blooms’ Taxonomy revise) ดัวตารางที่ 4

ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบ Blooms’ Taxonomy 1956 และ2001
New Version (Blooms’ Taxonomy 2001)
Old version (Blooms’ Taxonomy 1956)
สร้างสรรค์-Creating
ประเมิน-Evaluating
ประเมิน-Evaluating
การสังเคราะห์-Synthesis
วิเคราะห์-Analyzing
วิเคราะห์-Analyzing
ประยุกต์-Applying
การนำไปใช้-Application
ความเข้าใจ-Understanding
ความเข้าใจ-Understanding
ความจำ-Remembering
ความรู้-Knowledge

Bloom (1956) ใช้คำนามในการอธิบายความรู้ประเภทต่างๆ ในฉบับปรับปรุง ปี 2001 ใช้คำกริยาและปรับเปลี่ยนคำว่าความรู้ (knowledge) เป็น ความจำ (Remembering) เมื่อนำมาเขียนจุดมุ่งหมายการศึกษาของหลักสูตรที่อ้างอิงมาตรฐาน (standards – based curriculum) จะเขียนได้ว่า ผู้เรียนควรรู้และทำอะไรได้ (เป็นกริยา) และได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง (factual) มโนทัศน์ (concept) กระบวนการ (procedural) และอภิปัญญา (meta-cognition) และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม 2 ขั้น คือ  ขั้นความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็น เข้าใจความหมาย (understand) และขั้นการประเมิน (evaluation) เป็น สร้างสรรค์ (create)
การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Revised’s Blooms’ Taxonomy) ที่กล่าวถึงมิติทางการเรียนรู้ของ Bloom และคณะ (1956) ซึ่งแอนเดอร์สัน และแครทโฮล (Anderson & Karthwohl, 2001) ไดกล่าวถึงรายละเอียดของพฤติกรรมผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process)
2) มิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา ได้แก่ การจำ (Remembering) เรียกความรู้จากหน่วยความจำระยะยาว ความเข้าใจ (understanding) ศึกษาความหมายจากข้อมูลที่เรียนรู้ รวมถึงการพูด การเขียนและการสื่อสารด้ายรูปร่าง การประยุกต์ใช้ (Applying) ประยุกต์ขั้นตอน/กระบวนการในงานที่คุ้นเคย วิเคราะห์ (Analyzing) จำแนกองค์ประกอบและหาความสัมพันธ์เพื่อกำหนดโครงสร้างหรือเป้าหมายใหม่ ประเมิน (Evaluating) ตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์และมาตรฐาน และสร้างสรรค์ (Creating) จัดองค์ประกอบหรือหน้าที่ให้เชื่อมโยงกันไปสู่รูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
มิติด้านความรู้ จำแนกระดับความรู้เป็น 4 ระดับ ได้แก่
1) ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง (Factual Knowledge) พื้นฐานของผู้เรียนต้องรู้จักหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหา
2) ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในโครงสร้างทั้งหมดที่จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกันได้
3) ความรู้ในการดำเนินการ (Procedural Knowledge) วิธีการสืบค้นและเกณฑ์การใช้ทักษะ เทคนิควิธีการเพื่อดำเนินการ
4) ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge) ความรู้จากการรับรู้และความเข้าใจในตนเอง
การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษานี้ได้กล่าวถึงอภิปัญญา (Metacognitive Knowledge) เป็นมิติหนึ่งของความรู้ คือ การมีความรู้ที่มีการเกี่ยวข้องกับความรู้ทางปัญญา โดยทั่วไปรู้ถึงความรู้ในตนเอง ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษานี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับอภิปัญญา (Metacognitive Knowledge) ตระหนักรู้ในตนเอง (Meta awareness) การไตร่ตรองย้อนคิดในตนเอง (Self-reflect) และการกำกับดูแลตนเอง (Self-regulation)
เขียนตารางแสดงความสัมพันธ์ของมิติกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และมิติด้านความรู้ (Knowledge Dimension) ได้ดังนี้


ตารางที่ 5 ความสัมพันธ์ของมิติด้านกระวนการทางปัญญากับมิติด้านความรู้

Cognitive Process
The Knowledge Dimension
1
Remember
2
Understand
3
Apply
4
Analyze
5
Evaluate
6
Create
Factual






Conceptual






Procedural






Metacognitive






ที่มา : ปรับจาก Anderson, L.W. Krathwohl, D.R., et al (Eds.) (2001)

        Anderson & Krathwohl (2001) นำเสนอรูปแบบของอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ความรู้ทางปัญญา (Knowledge of Cognition) และกระบวนการในการดูแล ควบคุม กำกับ ติดตามตนเอง โดยแบ่งเป็นอภิปัญญาความรู้ (Metacognitive Knowledge) และอภิปัญญาในการควบคุมตนเอง (Metacognitive Control) และความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ความรู้ในกลยุทธ์วิธีการเรียนรู้ (Strategic knowledge) คือ ความรู้ในกลยุทธ์วิธี การเรียนรู้ การคิดการแก้ไขปัญหาในทุกกลุ่มวิชา
2.ความรู้ในการเลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการเรียนรู้ (Knowledge about Cognitive tasks) คือการเลือกกลยุทธ์ ยุทธวิธีที่เหมาะสมกับภาระชิ้นงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพที่แตกต่างกัน
3.การรู้ในตนเอง (Self- Knowledge) คือการรู้ถึงความรู้ ความสามารถของตน การประเมินตนเองทั้งจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนา และควรพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อให้บรรลุภาระชิ้นงานหรือมีความรู้ที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหานั้นๆ


จุดมุ่งหมายของการศึกษาของมาร์ซาโน
        Marzano & Kendall, (2007) ได้พัฒนาการจัดกลุ่มกิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่ แบ่งเป็น 1) ระบบปัญญา (Cognitive System) 2) ระบบอภิปัญญา (Metacognitive System) และ 3) ระบบตนเอง (Self System) และได้จำแนกอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 6 ขั้น
        ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา ( Retrieval) ได้แก่ การระบุข้อความได้ (Recognizing) การระลึกได้ (Recalling) และการลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
        ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การบูรณาการ (Integration) และการทำให้เป็นสัญลักษณ์ (Symbolizing)
        ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่ การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying) วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ (Analyzing Error) ติดตามได้ (Generalizing) และชี้ให้จำเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
        ขั้นที่ 4 การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing) ได้แก่ การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Investigating)
        ขั้นที่ 5 อภิปัญญา (Meta-cognition) ได้แก่การระบุจุดหมาย (Specifying Goals) การกำกับติดจามกระบวนการ (Process Monitoring) การทำให้เกิดความชัดเจนในการกำกับติดตาม (Monitoring Clarity) และการกำกับติดตามตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)
        ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง (Self-System Thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Examining Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์ (Examining Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining Motivation)

        Marzano, (2000) ได้นำเสนอมิติใหม่ทางการศึกษา ดังนี้
ตารางที่ 6 มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบตนเอง
ระบบตนเอง (Self-System)
ความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของความรู้ (Biliefs About the Importance of Knowledge)
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ (Biliefs About Efficacy)
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับความรู้ (Emotions Associated with Knowledge)

ตารางที่ 7 มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบอภิปัญญา
ระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System)
การบ่งชี้จุดหมาย (Specifying Learning Goals)
การเฝ้าระวังในกระบวนการ/การนำความรู้ไปใช้ (Monitoring the Execution Knowledge)
การทำให้เกิดความชัดเจน (Monitoring Clarity)
การตรวจสอบความถูกต้อง (Monitoring   Accuracy)

ตารางที่ 8 มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบปัญญา
ระบบปัญญา (Cognitive System)
การเรียกใช้ความรู้ (Knowledge Retrieval)
ความเข้าใจ
(Comprehension)

การวิเคราะห์
(Analysis)
การนำความรู้ไปใช้
(Knowledge Utilizing)
การระลึกได้ (Recalling)
การลงมือปฏิบัติได้
(Executing)
การสังเคราะห์ (Synthesis)
การกำหนดสัญลักษณ์/การเป็นตัวแทน (Representation)
การจับคู่ได้ (Matching)
แยกประเภทได้ (Classifying)
วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ (Analysis Error)
 การกำหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไป (Generalizing)
การกำหนดเฉพาะเจาะจงได้ (Specifying)
การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) การสืบค้นคว้าต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Investigating)

ขอบเขตความรู้ (Knowledge Domain)
ข้อมูล
(Information)
ขั้นการคิดวิธีดำเนินงาน
(Mental Procedures)
ขั้นการลงมือทำ
(Physical Procedures)
การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
ให้คำแนะนำใช้คำถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า
(Cues, Questions and Advance Organizes)
คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจำ ใช้ และจัดการกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะศึกษา
การแสดงออกโดยภาษากาย
(Nonlinguistic Representation)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอและให้รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
สรุปความละจดบันทึก
(Summarizing and Note taking)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการกับข้อมูล โดยการสรุปสาระสำคัญ และข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูล
(Information)
ขั้นการคิดวิธีดำเนินงาน
(Mental Procedures)
ขั้นการลงมือทำ
(Physical Procedures)
มอบหมายงานและให้ปฏิบัติ
(Assigning Homework and Providing Practice)
หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้ การสร้างเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าถึงระดับความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
ระบุความเหมือนความแตกต่าง
(Identifying Similarities and Difference)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้ กระบวนการทางปัญญาในการระบุหรือจำแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
สร้างและทดสอบสมมติฐาน
(Generating and testing Hypotheses)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการสร้างละทดสอบสมมติฐาน

        Marzano, R., & Kendall, J.(2001) นำเสนอระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System) เป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติภาระงานตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การติดตาม ดูแล ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆ ตามความจำเป็นและเหมาสมให้ภาระงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ครู แนวคิดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในด้าน cognitive domain ตามที่มาร์ซาร์โน (Marzono Taxonomy) ได้นำมาเสนอไว้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Bloom Taxonomy และ Marzono Taxonomy ได้ดังนี้


ตารางที่ 9 การเปรียบเทียบกับ Bloom Taxonomy และ Marzono Taxonomy


                                     


ที่มา : สุเทพ อ่วมเจริญ วัชรา เล่าเรียนดี และประเสริฐ มงคล การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2559 : 35 

        จากตารางเปรียบเทียบสรุปว่า วัตถุประสงค์ตาม Bloom Taxonomy ด้าน Cognitive Domain นั้น Marzono Taxonomy เรียกว่า Cognitive System อีกสองระบบที่เพิ่มขึ้นไม่พบใน Bloom Taxonomy คือ Meta-Cognitive System และ Self-System มาร์ซาโน ได้อ้างถึง แนวคิดของ Sternberg (Marzono  1998 : 54-57) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ในการจัดการตนเอง (Organizing)      การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluating) และการควบคุม (Regulating) ซึ่งองค์ประกอบของการรู้คิดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. การระบุจุดหมายเฉพาะเจาะจง (Goal Specifying) คือ การกำเนิดจุดมุ่งหมายของชิ้นงาน (the job of the goal) ที่ผู้เรียนตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยมีการกำหนดผลสำเร็จของงานในแต่ละขั้น
2. การระบุกระบวนการที่ชัดเจน (Process Specifying) คือ การกำหนดความรู้ ทักษะหรือกลวิธี ขั้นตอน/กระบวนการ เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายของชิ้นงานอย่างเหมาะสม
3. การกำกับดูแลกระบวนการ (Process Monitoring) คือ การติดตามควบคุมแต่ละกระบวนการ แต่ละขั้นตอนในการนำทักษะ กลวิธีไปใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
4. การกำกับดูแลการปฏิบัติงานของตน (Deposition Monitoring) คือ การควบคุมตนเองในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อให้งานเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เช่น การให้ความสำคัญกับงาน มุ่งเน้นผลผลิตที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ความเป็นระบบ มีแรงจูงใจในการทำงาน มีส่วนร่วมในการทำงาน ฯลฯ
แนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิปัญญา (Meta-Cognitive System) ของ Marzono กล่าวสรุปองค์ประกอบของระบบอภิปัญญาได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (Specifying Learning Goal)  2) การกำกับติดตามการปฏิบัติงานขิงกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the Execution of knowledge)  3) ดูแลติดตามความชัดเจน (Monitoring Clarity) 4) การกำกับติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy)
แนวคิดการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดร่วมกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดของผู้เรียน ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษาที่มาร์ซาโน (Marzano) พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ระบบ ได้แก่ 1) Self-System คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในตนเองในการปฏิบัติภาระชิ้นงานด้วยความเต็มใจ ตั้งใจ มีความสุข และมีความมุ่งหวังให้เกิดความสำเร็จ 2) Meta-Cognitive System คือ ระบบการควบคุมตนเองให้ปฏิบัติภาระชิ้นงาน ที่เกิดขึ้นให้บรรลุผล ด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals) การดูแลติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the Execution of Knowledge) การดูแลติดตามความชัดเจน (Clarity) และการดูแลติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy) 3) Cognitive System คือ กระบวนการทางปัญญา (Mental Process) ที่จะปฏิบัติภาระงานสำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งระบบอภิปัญญา (Meta-Cognitive System) ถือเป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) ที่ผู้ให้ผู้เรียนควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติภาระงานตามจุดหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ ยุทธวิธีและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการติดตามดูแลปรับปรุงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงานนะลุล่วงตามภารกิจซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอน



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้