บทที่ 3


วิเคราะห์ภาระงาน (Take Analysis)

T : ที่วิเคราะห์ภาระงาน check analysis ศึกษาข้อมูลต่างๆเพื่อให้ได้ความรู้  (Knowledge)  ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ที่เกี่ยวข้องเพื่ออธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการเรียนรู้  การวิเคราะห์ งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ knowledge Skills attitude การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วย 3  ขั้นตอน คือ
1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการเรียนการสอนมีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
2. ต้องการความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อนซึ่งจะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จากขั้นที่ 2 บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใด

Donald Clark (2004 : 13) เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการการออกแบบการเรียนการสอนนี้ว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจนดังนี้
ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น เรียบเรียงภาระงาน (ถ้าจำเป็น)
  * ระบุงาน
  * บรรยายลักษณะงาน
  * รายการภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสำคัญสำหรับการเรียนการสอน (ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การสอน)
 สร้างเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติ
 เรื่องวิธีการเรียนการสอน.     
ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน (ถ้าจำเป็น)
หมายเหตุ คำว่าถ้าจำเป็นอาจไม่ต้องทำก็ได้เมื่อผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้นๆทราบแล้ว

การวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้นๆมีงานใดที่ เป็นชีวิตจริงและมีความรู้ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานนั้นๆการวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้

คำถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งานในการวิเคราะห์งานมีคำถามหลัก 3 ข้อ คือ
-  ภาระ ใดงานใดเป็นข้อกำหนดของงาน
-  การจัดเรียงลำดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
-  เวลาที่ใช้ในการทำแต่ละภาระงาน
-  สุดท้ายหาคำตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสำคัญเนื่องจากงานประกอบด้วย      ภาระงานหลายภาระงาน

การวิเคราะห์งานทำได้อย่างไร
การวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อยคือ
การสอบถาม (Questionnaires) การสำรวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจำนวนมาก
การสัมภาษณ์ (Interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากแต่มีข้อดีสำหรับคำถามปลายเปิดหรือสามารถถามเพิ่มเติมในประเด็นที่ต้องการได้ทันที
การสนทนากลุ่ม (Focus groups)  การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่ามิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้

การวิเคราะห์ภาระงาน
การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับการวิเคราะห์อยู่ที่รายละเอียดหน่วยย่อยการวิเคราะห์งานทำได้โดยการจำแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงานจากนั้นการวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบโดยใช้คำถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์งานดังนี้
 ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนำมาเรียงลำดับด้วยอะไรได้บ้าง
ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไหร่
ขั้นตอนที่จำเป็น (Critical Step) คืออะไรและเส้นทางวิกฤต (Critical Part) คืออะไร
ขั้นตอนที่จำเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้ามละเว้นไม่ต้องปฏิบัติ ภาระงานนั้นมิฉะนั้นจะมีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป ส่วนเส้นทางวิกฤตเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จำเป็นเส้นทางวิกฤตมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จของงานได้และในทำนองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคำนึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพซึ่งโปรแกรมที่ดีต้องแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกันการเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับการเรียนปกติ (Formal)
2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน (on – the - job - Training : OJT)
3. กลุ่มพลังงานที่ไม่จัดไว้ทางการเรียนแบบปกติหรือการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงานเช่นชุดการศึกษาด้วยตัวเอง ฯลฯ
   
คำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
        Donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ คำถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ดังนี้
ภาระงานนี้มีความยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใด
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
ภาระงานนี้จะต้องกระทำบ่อยเพียงใด
ภาระงานนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทำภาระงานนี้ถึงระดับใดหรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงานถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานอะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่างๆ
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลยผลจะเป็นอย่างไร
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้นๆ
ระดับความชำนาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงานควรจะอยู่ระดับใด
ภาระงานมีความสำคัญอย่างไร
สารสนเทศใดมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภาระงานและจะได้มาจากแหล่งใด
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
ในการดำเนินงานตามระบบจำเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่นหรือภาระงานอื่นหรือไม่
ภาระงานนานๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆ หรือไม่เช่นด้านการรับรู้ (Perceptual)     ด้านความรู้ (Cognitive) ด้านทักษะ (Psychomotor) และด้านกายภาพ (Physical)
ภาระงานนี้จะต้องกระทำบ่อยเพียงใดภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน  หรือรายปี)
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ในการปฏิบัติภาระงานนี้บุคคลต้องมีทักษะความรู้ความสามารถต่างๆอะไรเป็นพื้นฐาน
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไรและเกมที่พึงประสงค์คืออะไร
พฤติกรรมใดที่สามารถจำแนกได้ว่าใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี
พฤติกรรมใดที่มีความสำคัญต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน

การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจำกัดขอบเขตของเรื่องที่จะนำมาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้องนำมาสอนซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสารสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนำมาสอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลา 1 ภาคเรียนควรยึดหลักว่าเพื่อเป็นผลดีต่อการเรียนรู้จริงๆของผู้เรียนสื่อการเรียนรู้ที่จำเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียน
     วิเคราะห์สาระการเรียนรู้เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์อาจจะแบ่งได้หลายลักษณะเช่น การเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs 1947 : 53 – 70) กำหนดสาระการเรียนรู้ดังนี้ 1) ข้อมูลที่เป็นความรู้ 2) เจตคติ 3) ทักษะ ส่วนเดคโค (De Cecco 1968 : 214 – 447) แบ่งสาระการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 1) ทักษะ 2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 3) ความคิดรวบยอดและหลักการ 4) การแก้ปัญหาการคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
การวิเคราะห์เนื้อหาสาระควรดำเนินการดังนี้
ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจำเป็นที่สุด
แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย
ข้อเสนอแนะให้นำโครง สร้างการจำแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอนอาทิการจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม (Bloom's Taxonomy)









    

  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้