ทฤษฎีการเรียนรู้อริยสัจ 4
ทฤษฎีการเรียนรู้ อริยสัจ 4
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
การคิด
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นส่วนที่มนุษย์มีแตกต่างกับสัตว์ต่างๆ การคิดเป็นการแฝงอยู่ในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้อย่างหลากหลาย
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
การคิด
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นส่วนที่มนุษย์มีแตกต่างกับสัตว์ต่างๆ การคิดเป็นการแฝงอยู่ในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้อย่างหลากหลาย
การบวนการคิด
กระบวนการคิด เป็นการคิดที่ต้องดำเนินการไปเป็นลำดับขั้นตอน ที่จะช่วยให้การคิดนั้นประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ ซึ่งในแต่ละลำดับขั้นตอนต้องอาศัยทักษะการคิด หรือลักษณะการคิดจำนวนมาก กระบวนการที่สำคัญที่หลายกระบวนการ
กระบวนการคิดแก้ปัญหา
การคิดแก้ปัญหา ( อริยสัจ 4 )
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นผู้ริเริ่มความคิด ในการนำหลักพุทธรรมมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา โดยประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาใช้ควบคู่กับ “ กิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วย ปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ ) สัจฉิกิริยา ( การทำให้แจ้ง ) และภาวนา ( การเจริญหรือลงมือปฏิบัติ ) จากหลักการทั้งสอง ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ได้เสนอแนะกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนการสอน
ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา ( ขั้นทุกข์ ) คือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน ( ขั้นสมุทัย ) คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมุติฐาน
3. ขั้นทดลอง และ เก็บข้อมูล ( ขั้นนิโรธ )คือ การกำหนดวัตุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ( ขั้นมรรค ) คือ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ4 สรุปเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน (ขั้นสมุทัย )
3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ )
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค )
ข้อดีและข้อจำกัดของจัดการเรียนรู้ตามขั้นสี่ของอริยสัจ 4
ข้อดี
1. เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าหาแนวทางและเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ทักษะและกระบวนการต่างๆในการเรียนรู้
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ใช้เวลามากพอสมควร
2. ผู้สอนจะต้องคอยดูแล ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด การเรียนรู้จึงจะได้ผลดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น