การสอนเพื่อความเข้าใจ : การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ


การกำหนดจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้วจากนั้นกำหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรมีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นต้องทำนักเรียนทำความเข้าใจในเรื่องใดและควรทำอะไรได้บ้างควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้างคู่จะต้องพิจารณาวิธีการประเมินซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก ( ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจนจึงจะสามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้งการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design )
Wiggin ได้เสนอกระบวนการการออกแบบการเรียนรู้ที่ย้อนกลับจากจุดหมายการเรียนรู้และมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ไปพร้อมกันเริ่มจากจะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้จะต้องพิจารณาจากสิ่งใดหรือจากหลักฐานอะไรจึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมีความชัดเจนในเรื่องจดหมายและออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรม การเรียนการสอนและจุดหมายที่พึงประสงค์การออกแบบย้อนกลับ (Backward  design) จะมี ขั้นตอน
1. การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
2. การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
3. การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้

การกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญและรู้อะไรแล้วกำหนดขอบข่ายว่านักเรียนจำเป็นต้องรู้สาระอะไรและจะต้องทำอะไรได้ผู้เรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใดควรทำอะไรได้บ้างและควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากำหนดจุดมุ่งหมาย               4 ประการ ได้แก่
1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะเฉพาะเรื่องเท่านั้นแต่จะต้องเป็นเรื่องหลักประเด็นหลักที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน
2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจของศาสตร์ที่เรียนหรือไม่นักเรียนควรมีโอกาสผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้นๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ว่า องค์ความรู้ในศาสตร์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร
3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเพียงใดมีเนื้อหาสาระ เป็นจำนวนมากที่ซับซ้อนยากและเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง เพราะข้อเหล่านี้ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษและควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจง่ายให้นักเรียนอ่านเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเพื่อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียนมีหลายหัวข้อหลายกิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เป็น ประตูไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าหากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจจะช่วยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป

การวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุด หมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปประธรรม แล้วผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กำหนดไว้
กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนให้ไปสู่จุด หมายดังกล่าว
สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นต้น
การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่

 การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากร
ชั้นเรียนโดยทั่วไปกำหนดให้มีจำนวนผู้เรียนประมาณห้องละหรือกลุ่มละ 30 คนเพื่อที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างทั่วถึง และกระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นเป็นผลให้ชั้นเรียนขนาดเล็กกลายเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ (มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอน ที่เกี่ยวข้องกับผู้สอน) ผู้ช่วยสอน (ประจำห้องปฏิบัติการห้องเทคโนโลยีที่ทันสมัย) ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนควรมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีข้อจำกัดของทรัพยากรอันเป็นผลจาก พัฒนาการทางสังคมโดยปรับวิธีการเรียนการสอนเครื่องมือและสภาพกายภาพผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจิตใจของคนการจัดการเรียนรู้เชิงสังคมและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้