การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง


การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Method : CLM) มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจะให้โอกาสผู้เรียน ในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้มีมาก่อน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง การเรียนรู้จากวิธีการนี้ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็น   ไปได้ วิธีคิดแก้ปัญหา ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่นการคิดทบทวนปัญหาและท้ายที่สุดคือเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเชื่อว่าความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิสท์ (Constructivism) ที่เปลี่ยนแนวคิดในการจัดการศึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งระบุจุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้ (Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม (Reinforcementเป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด (Cognitive theory) ที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง (Construct their own knowledgeจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gagnon & Collay 2001 : 1) ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์และระเบียบแบบแผนทางความคิดของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหา ในสถานการณ์ที่คลุมเครือ ทิดสะดีการเรียนรู้
แบบคอนสตรัคติวิสต์สนใจศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง เมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นบุคคลจะใช้โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) ที่มีอยู่เดิมทำปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อนๆที่อยู่รอบข้าง ความขัดแย้งทางปัญญา จะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไตร่ตรอง (Refection) อันเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบการปรับเปลี่ยนสมมุติฐานทางความคิดด้วยเหตุและผล        ซึ่งนำไปสู่การสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาต่อไป 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้