บทที่ 6



 การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)

I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง เรียนรู้      แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยมสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
การบูรณาการความรู้ หมายถึง การโยงความรู้ หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิดเป็นหนึ่ง เดียวในสถานการณ์ต่างๆ การบูรณาการทําให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นความรู้ที่  ลุ่มลึกและยั่งยืน การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจําเป็น โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูล ข่าวสารมาก        การบูรณาการความรู้อาจเขียนเป็นลําดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้ เริ่มจาก ข้อมูล (data) สารสนเทศ (information)-ความรู้ (knowledge) ปัญญา (wisdom) เป้าหมายหลักของการเรียนคือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ถือว่าสําคัญใน เรื่องที่กําหนดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อแสวงหาและรวบรวมความรู้ นวัตกรรมด้านการศึกษาจํานวนมากไม่ สนใจความสําคัญของความรู้ด้านเนื้อหา แต่นักเรียนที่เรียนแบบบูรณาการความรู้ โดยการสํารวจ การจัด จําแนก การจัดการ และการสังเคราะห์ความคิดและข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินประสบการณ์และแก้ปัญหา บรรจุอยู่ในหลักสูตรเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curricula) โดยนําความคิดหลักในวิชามา สัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน ระหว่างหัวข้อ และเนื้อหาต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้