กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดของมาร์ซาโน


การตั้งจุดมุ่งหมาย/จุดประสงค์ (Setting Objective) แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้ 1) ตั้งจุดประสงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2)สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจตรงกัน 3) เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่ 4) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตน

การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็นประโยชน์ต่อไป  2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจำเป็น  3) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน  4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ

การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์  2) แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม  3) ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

          การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1) ส่งเสริมเป้าหมาย      มุ่งเน้นการเป็นผู้รอบรู้  2) ให้การยกย่อง สำหรับสิ่งที่เป็นไปตามคาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม  3) ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปประธรรมในการแสดงการยอมรับเป็นการให้รางวัล

การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้  1) ควรยึดหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสำเร็จส่วนบุคคล  2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก  3-5 คน  3) ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ

การใช้คำแนะนำและคำถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้    1 )ใช้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ  2) ให้คำแนะนำที่ชัดเจน 3) คำถามเชิงอนุมาน 4) คำถามเชิงวิเคราะห์

การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้การอธิบายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า  2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า  3)  ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า  4) ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า

การใช้ภาษากายแสดงออก (Nonlinguistic Representation) มีวิธีการดังนี้             1) ใช้กราฟิกในการนำเสนอ  2) จัดกระทำหรือทำตัวแม่แบบ  3) ใช้รูปแสดงความคิดนำเสนอ   4) สร้างรูปภาพ,สัญลักษณ์

สรุปและจดบันทึก มีวิธีการดังนี้  1) สอนนักเรียนให้รู้จักวิธีการบันทึก สรุป ที่มีประสิทธิภาพ  2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป  3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการสอนซึ่งกัน และกัน

การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้  1) พัฒนาและสื่อสารนโยบายการมอบหมายการบ้านของโรงเรียน  2)  ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทาง      วิธีการ  3) ให้ข้อมูลย้อนกลับในงานที่มอบหมาย

การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1) ต้องบอกวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติอย่างชัดเจน  2) ออกแบบการปฏิบัติที่เจาะจงและเวลาที่เหมาะสม  3) ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา

การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Idenyifying Similarity) มีวิธีการดังนี้  1) วิธีการบอกความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี  2) แนะนำนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกำหนดความเหมือนความแตกต่าง  3) ให้คำแนะนำที่ช่วยให้นักเรียนกำหนดความเหมือนความแตกต่างได้



การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย  2) การให้นักเรียนอธิบายสมมติฐานและข้อสรุป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้