จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม (Bloom)
จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
(Bloom)
พุทธิพิสัย (Cognitive
Domain)
พุทธิพิสัย (Cognitive
Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด
หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย แบ่งได้เป็น 6
ระดับ ได้แก่
1.
ความรู้ความจำ
เป็นความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ
จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการ
เปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่าง ๆ
ได้ สามารถเปิดฟัง หรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจ
เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อได้
และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำ อื่น
ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้
ประสบการณ์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เช่น
นำหลักของการใช้ภาษาไทยไปใช้สื่อความหมายในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสม
4.
การวิเคราะห์ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถคิด
หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้
และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน เช่น คน 2 คน
มองดูต้นไม้ต้นเดียวกัน
คนแรก วิเคราะห์ต้นไม้
ออกเป็น 4 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ และ ดอก
คนที่สอง
วิเคราะห์ต้นไม้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนดิน และ ส่วนใต้ดิน
5.
การสังเคราะห์
ขั้นนี้เป็นความสามารถในการที่ผสมผสานย่อย ๆ
เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม
อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
6.
การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน
ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
จิตพิสัย (Affective
Domain)
จิตพิสัย (Affective
Domain) เป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจ ซึ่งจะเกี่ยวกับค่านิยม
ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจ และคุณธรรม
พฤติกรรมของผู้เรียนในด้านนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นทันที
ดังนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องใช้วิธีปลูกฝังโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย
พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1. การรับรู้ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์
หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง
เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ
ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม
เป็นการเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม
ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของการยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ
หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ
แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดรวบรวม
เป็นการสร้างแนวคิดและจัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้น
ซึ่งจะรวบรวมค่านิยมเหล่านั้น โดยอาศัยความสัมพันธ์กับสิ่งที่ยึดถือ
เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไป
แต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับค่านิยมใหม่ หรืออาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่าไปก็ได้
5. สร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยมที่ยึดถือ
เป็นการนำค่านิยมที่ยึดถือนั้นมาใช้
เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัวของตน
ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม
ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain)
ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain) พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
พฤติกรรมด้านนี้จะเห็นได้จากกระทำ ซึ่งแสดงผลของการปฏิบัติออกมาได้โดยตรง
โดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะที่เกิดว่ามีมากน้อยเพียงใด การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย
ผู้เรียนจะต้องพร้อมที่จะใช้อวัยวะต่าง ๆ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย
พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1. การรับรู้
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือเป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2. กระทำตามแบบ
หรือเครื่องชี้แนะ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ
เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3. การหาความถูกต้อง
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว
ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ ซึ่งจะพัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง
อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับตัวแบบเดิม ก็ได้
4. การกระทำอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ได้ตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองก็จะมีการกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง
จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และคล่องแคล่ว
นั่นคือ เกิดทักษะขึ้นแล้ว
การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะได้จะต้องอาศัยการฝึกฝนในเรื่องนั้น ๆ
และกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นพฤติกรรมสุดท้ายที่จะได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถปฏิบัติสิ่งนั้น ๆ ได้คล่องแคล่วว่องไว โดยอัตโนมัติ
ดูเป็นไปอย่างธรรมชาติไม่ขัดเขิน ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น