การประเมินผลและการนิเทศ



Car, Judy F and Harris, Douglas E. (2001: 153) กล่าวสรุปไว้ว่าการพัฒนาวิชาชีพการนิเทศการประเมินผลมีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐานและได้นำเสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน 7 ประการดังนี้
หลักการที่ 1 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพตามระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานมีคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานดังต่อไปนี้
                                 
ใครจะรับผิดชอบมาตรฐานใด
แนวทางการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไรในชั้นเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างไร
ระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังควรตั้งไว้เท่าใดใช้เกณฑ์ใดในการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของมาตรฐานและจะประเมินมาตรฐานอย่างไร
ใช้ข้อมูลใดบ่งบอกว่าบรรลุมาตรฐานและอะไรบ้างที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน
หลักการที่ 2 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตนเองเป้าหมายของการวางแผนการสอน มีขอบข่ายเนื้อหาที่จะปรับปรุงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยเชื่อมโยงลำดับความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพกับแผนการสอนกรณีตัวอย่างสถานศึกษากำหนดแผนการพัฒนาประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประเด็นคือการวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนการจัดทำแฟ้มสะสมงานและการพัฒนาวิธีการวัดผลหลังจบหลักสูตรในแต่ละประเด็นเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้สอนในด้านการสอนและประเมินการแก้ปัญหาโดยเปิดโอกาสให้จัดทำแผนพัฒนาวิชาชีพระยะยาว
หลักการที่ 3 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแบบกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียน การสร้างตัวแบบเริ่มโดยเน้นที่มาตรฐานโดยคาดหวังว่าผู้สอนจะต้องสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำหนดโครงการพัฒนาวิชาชีพจึงต้องยึดมาตรฐานตัวอย่างเช่นการใช้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครูครูต้องร่วมกันวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนทบทวนสิ่งที่นำไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนรวมทั้งศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระและวิธีการสอนตามความต้องการของนักเรียนสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในชั้นเรียนที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
หลักการที่ 4 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้สำคัญของระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ดังนี้
มาตรฐานเน้นการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคนและทุกวัย
ผู้เรียนทุกคนสรรค์สร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้
ผู้เรียนเรียนรู้จากผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยการค้นคว้าและการฝึกคิดทบทวน
การประเมินผลก่อให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
หลักการที่ 5 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำ กล่าวคือครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานบทบาทผู้นำอย่างเป็นทางการของครคือบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาครูควรเป็นผู้ตัดสินใจในการคัดเลือกทีมงานวางแผนการสอนคัดเลือกเนื้อหาโดยเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครูควรเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานกำหนดกลยุทธการสอนและการประเมินผลและวิเคราะห์ผลงานของนักเรียน
หลักการที่ 6 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยการศึกษาอื่น การเชื่อมโยงด้วยมาตรฐานคือวิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบฉะนั้นองค์ประกอบและการตัดสินใจล้วนส่งผลต่อส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
หลักการที่ 7 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพต้องประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียนความมีประสิทธิผลรวมถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนทุกคนและความเสมอภาค (ลดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียน) หรือทั้งสองอย่างกระบวนการวางแผนการสอนจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงโดยใช้ผลการเรียนรู้ของนักเรียน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้