การประเมินคุณภาพภายใน



Clark (2005: 2) กล่าวว่าการประเมินคุณภาพภายในโปรแกรมการเรียนการสอน (internal evaluation) เป็นวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดำเนินการการและเมินเน้นที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไปในการประเมินจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนโดยกำหนดจุดมุ่งหมายคือการจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นพัฒนาผู้เรียนได้จริงถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนการสอนคล้าย ๆ กันอาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงทีการประเมินนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp: 1971) เสนอแนะการประเมินไว้ดังนี้
1. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใดเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับของผู้สอนหรือไม่
4. กิจกรรมต่างๆเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5. วัสดุต่างๆสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งการหยิบการใช้หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอนกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
7. ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเองและข้อสอบหลังจากเรียนแล้วใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนได้หรือไม่
 8. ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้าง (เนื้อหา รูปแบบ และอื่น ๆ )
การประเมินภายนอก
Clark (2005: 2) กล่าวว่าว่าการประเมินคุณภาพภายนอก (External evaluation) เป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ (outcome) โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวมเป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ผู้เรียนบรรลุจุดหมายและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ผลการดำเนินการมีประสิทธิภาพหรือไม่การออกแบบการเรียนการสอนตลอดกระบวนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป เคมพ์ (Kemp, 1971:) เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
2. หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วการปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทักษะและการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3. การใช้วัสดุต่างๆง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมาก ๆ หรือไม่
4. สิ่งอำนวยความสะดวกกำหนดการและการนิเทศมีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่
5. มีการระวังรักษาการหยิบการใช้เครื่องมือและวัสดุต่าง ๆ หรือไม่
6. วัสดุต่าง ๆ ที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7. ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียนวิธีการสอนกิจกรรมและเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้