กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That Works)



Marzano (2012) ได้เสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2. การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3. การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนําความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)

กลวิธีที่ 1 เป็นพื้นฐานสําคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
          กลวิธีที่ 2 เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้ จัดลําดับและ เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวน การบูรณาการและเรียนรู้กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1) การสร้างขั้นตอนที่
จําเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติ อย่างหลากหลาย 3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา
           กลวิธีที่ 3 คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้มากกว่า คําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ในชีวิตจริงเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย
การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
Marzano: (2012) ได้สรุปกลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้าง สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ไว้ดังตาราง
กลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
1) การกําหนดวัตถุประสงค์และ ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Setting Objectives Feedback)
2) เสริมแรงและสร้างความยอมรับ 
3) การเรียนแบบร่วมมือ



กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด ของ Marzano
การตั้งจุดมุ่งหมาย/จุดประสงค์ (Setting objectives) แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้ 1) ตั้ง จุดประสงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2) สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจ ตรงกัน 3) เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่ 4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ จุดประสงค์การเรียนรู้และนําไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มี ประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็น ประโยชน์ต่อไป 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคํานึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจําเป็น 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2) แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม 3) ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1) ส่งเสริม เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้ รอบรู้ 2) ให้การยกย่อง สําหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม 3) ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ เป็นการให้รางวัล
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1) ควรยึดหลักของการมี ปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสําเร็จส่วนบุคคล 2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3) ใช้การ เรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
การใช้การแนะนําและคําถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้เฉพาะประเด็นที่สําคัญ 2) ให้คําแนะนําที่ชัดเจน 3) ถามคําถามเชิงอนุมาน 4) ถามคําถามเชิงวิเคราะห์
การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้การอธิบายในการสร้างมโน ทัศน์ล่วงหน้า 2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 3) ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ ล่วงหน้า 4) ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
การใช้ภาษากายแสดงออก (Nonlinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้ 1)ใช้กราฟิกในการ นําเสนอ 2) จัดกระทําหรือทําตัวแบบ 3)ใช้รูปแสดงความคิดนําเสนอ 4) สร้างรูปภาพสัญลักษณ์
สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note talking) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนให้รู้จัก วิธีการบันทึก สรุป ที่มีประสิทธิภาพ 2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป 3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการ สอน ซึ่งกันและกัน
การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1)พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการ มอบหมายการบ้านของโรงเรียน 2) ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3) ให้ข้อมูล ย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1)ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ อย่างชัดเจน 2) ออกแบบการปฏิบัติที่ เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3) ให้ทํากิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้ 1) วิธีการบอก ความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี 2) แนะนํานักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกําหนด ความเหมือนความแตกต่าง 3) ให้คําแนะนําที่ช่วยให้นักเรียน กําหนดความเหมือนความแตกต่างได้
การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1)ให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย 2) การและให้ นักเรียนอธิบายสมมติฐานและและข้อสรุป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้