การออกแบบและพัฒนาระบบงาน
Herman's, J.L., Aschbacher, P. R., and Winters, L. (1992 อ้างถึงนายชอบ ลีซอ (2555) การประเมินตามสภาพจริงสำนักทดสอบทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ) การออกแบบและพัฒนาภาระงาน ต้องอาศัยหลักวิชาการวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระในระดับมืออาชีพขั้นตอนการสร้างภาระงานมีดังต่อไปนี้
1. การระบุความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน โดยเริ่มจากพิจารณาและวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรผลการเรียนที่คาดหวังหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถระบุขอบเขตและประเภทของความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้สอนควรตั้งปัญหาถามตนเอง 5 ข้อเพื่อที่จะระบุหรือกำหนดความรู้และความสามารถที่ผู้เรียนจะได้รับจากการปฏิบัติภาระงาน คือ
1) ทักษะทางปัญญาและคุณลักษณะที่สำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาคืออะไร เช่น การสื่อสารด้วยการเขียนอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาโดยใช้ข้อมูลขั้นปฐมภูมิและจากเอกสารอ้างอิงการใช้หลักพีชคณิตเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเป็นต้น
2) ทักษะและคุณลักษณะทางสังคม และจิตพิสัยที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนคืออะไรเช่นการทำงานโดยอิสระการปฏิบัติโดยร่วมมือกับผู้อื่นความมั่นใจในความสามารถของตนและการรู้จักรับผิดชอบ เป็นต้น
3) ทักษะความคิดระดับสูงและอภิปัญญา (Meta-cognition) ที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนคืออะไร เช่นการใคร่ครวญไตร่ตรองทบทวนกระบวนการทำงานของผู้เรียน การประเมินประสิทธิภาพของกลวิธีที่ตนใช้ การพิจารณาและประเมินความก้าวหน้าของตนเองเป็นระยะๆ เป็นต้น
4) ความสามรถที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถอะไร เช่น ความสามารถในการวางแผนศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบให้กับประเด็นปัญหาที่กำหนดให้ ความสามารถจำแนกประเภทปัญหาที่สามารถใช้หลักการทางเรขาคณิตแก้ได้ การแก้ปัญหาที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องแน่ชัด เป็นต้น
5) หลักการทางวิชาการและความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คืออะไร เช่นการใช้หลักการทางนิเวศวิทยากำหนดแนวปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การใช้หลักคณิตศาสตร์ไตรยางค์ในการแก้ปัญหาเรื่องการซื้อขายเป็นต้น
2. ออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ (จากข้อ 1) ลักษณะสำคัญของงานคือต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนมีความท้าทายแต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุมถึงสาระสำคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้งเพื่อให้สามารถนำผลประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
Herman et al. (1992) ได้เสนอประเด็นคำถามสำคัญเพื่อให้ผู้สอนพิจารณาในขั้นตอนนี้ คือ
1) เวลาจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ผู้เรียนจะพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติงานในระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เนื่องจากการพัฒนาความคิดรวบยอดที่สำคัญและทักษะกระบวนการคิดระดับสูงความรู้ทักษะมักจะใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ยาวนานพอสมควรผู้สอนผู้ออกแบบควรจะกำหนดเวลาที่เหมาะสมตามประเภทของสาระสำคัญและความรู้ซึ้งของทักษะและวัยระดับชั้นเรียนหรือพัฒนาการด้านสติปัญญาของผู้เรียน
2) จะมีหลักการอย่างไรในการเลือกความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีจำนวนมากและหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนดหลักการสำคัญคือพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับ ความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาและความรู้ทักษะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่กว้างขวางและใช้ได้สถานการณ์ที่หลากหลาย
3) พิจารณาโลกแห่งความเป็นจริงผู้สอนผู้ออกแบบควรให้ความสำคัญต่อความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นจริงไม่ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นเพียงอุดมคติแต่ไม่สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง
3. การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) หรือเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนเป็นปรนัยเป็นที่ยอมรับและสามารถสะท้อนให้เห็น ถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เกณฑ์การให้คะแนนส่วนมากมักอยู่ในรูปตาราง 2 มิติประกอบด้วย
ส่วนหัวของ Rows จะแสดงระดับคุณภาพของความรู้ทักษะหรือความสามารถของแต่ละColumnจำนวนRowsจะขึ้นอยู่กับจำนวนของระดับคุณภาพ ที่ต้องใช้และส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 ระดับ
ช่องแต่ละช่องในตารางจะมีคำบรรยายถึงระดับคุณภาพแต่ละระดับของความรู้ทักษะหรือความสามารถที่ประเมินภาระงานแต่ละชิ้นควรจะมีเกณฑ์การประเมินเฉพาะตัวเกณฑ์การประเมินที่ออก แบบมาอย่างดีจะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนว่าจะต้องแสดงความสามารถด้านใดออกมาในระดับใดจึงจะได้คะแนนเท่าไร เกณฑ์การประเมินอย่างเป็นเครื่องมือให้ผู้สอนสามารถประเมินผู้เรียนอย่างเป็นปรนัยและได้ผลการประเมินที่น่าเชื่อถือนอกจากนี้ควรจะมีตัวอย่างผลงานพร้อมทั้งระดับคะแนนแต่ละด้านให้นักเรียนได้ศึกษาประกอบด้วย
หมายเหตุผู้สอนผู้ออกแบบควรจะหาภาระงานไปทำการตรวจสอบทบทวนและนำไปทดลองใช้ในภาคสนามนำผลกลับมาศึกษาวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขก่อนจะนำไปใช้ในสถานการณ์จริงต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น