ทักษะแห่งความร่วมมือ


John and John (1991, 1994) กล่าวว่า ทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะ ส่งผลต่อความสำเร็จในความพยายามร่วมมือกัน ทักษะแห่งความร่วมมือมี 4 ระดับ คือ
1. ระดับสร้างนิสัย (Forming) ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือให้ทำหน้าที่ได้ เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำพฤติกรรมที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
อยู่ประจำกลุ่มนักเรียนที่เดินไปมาในช่วงที่กลุ่มทำงานไม่ก่อให้เกิดผลดีและยังรบกวนสมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
พูดเบาๆแต่ละกลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดังเกินไปอาจมอบหมายให้นักเรียนคนอื่นในกลุ่มเป็นผู้คอยกำกับคนอื่นให้พูดเบาๆ
กระตุ้นให้ ทุกคนมีส่วนร่วมสมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิดว่าร่วมกันใช้สื่อการเรียนและมีส่วนในความพยายามให้กลุ่มบรรลุผลการให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม

2. ระดับสร้างบทบาท (Function)  ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่มทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการความพยายามของกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทำงาน การหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้น ถือว่าเป็นการผสมผสานอันสำคัญที่จะนำไปสู่กลุ่มการเรียนรู้       แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
แนะแนวทางการทำงานของกลุ่มโดย (1) แจ้งระยะความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย (2) เตือนให้ใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ (3) เสนอขั้นตอนว่าจะทำอย่างไรให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผลที่สุด
แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับทั้งการใช้คำพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การมองสบตา แสดงความสนใจชมเชยแสวงหาความคิด และ ข้อสรุปของผู้อื่น
ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทำในกลุ่ม
แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลงโดยเสนอแนะความคิดใหม่ใช้อารมณ์ขันหรือแสดงความกระตือรือร้น
บรรยายความรู้สึกของตนเมื่อมีโอกาสเหมาะ

3. ระดับสร้างระบบ (Formulating) ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกในเนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้ กลยุทธ์ การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง และเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของความรู้ที่ได้จากงานที่ปฏิบัติทักษะที่สามนี้จะทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จำเป็นในการสร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียน กระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียนเนื่องจากความมุ่งหมายของกลุ่มการเรียนรู้คือต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิก ทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการจัดระเบียบความรู้ที่เรียนทักษะระดับสร้างระบบสามารถดำเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่างๆกันบทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
พูดสรุปย่อเป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่านหรืออภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาศัยร่างบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับ ควรสรุปข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญทั้งหมดในการสรุปย่อด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องสรุปยอดจากความจำบ่อยๆเพื่อเพิ่มการเรียนรู้
ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวังเรื่องความถูกต้องโดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิก และเพิ่มเติมข้อสนเทศที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่นๆเชื่อมโยงความรู้ที่กำลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้วและกับสิ่งอื่นๆที่สมาชิกเรานั้นรู้
ผู้ช่วยจำ เป็นผู้หาวิธีการที่ดี ในการจดจำข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญโดยใช้ภาพวาด สร้างมโนภาพ หรือวิธีจำอื่นๆแล้วนำมาร่วมหารือในกลุ่ม
ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็น ขั้นตอนคือเหตุผลที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้การใช้เหตุผลของนักเรียน ชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้ไขและอภิปราย
ผู้ขอความช่วยเหลือ เป็นผู้เลือกคนที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม ร่วมมือทั้งเป็นผู้ตั้งคำถามที่ชัดเจน และตรงประเด็น และทำอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสำเร็จ
อธิบาย เป็นผู้บรรยายวิธีการทำงานให้สำเร็จโดยไม่ให้คำตอบให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะจง เกี่ยวกับงานนักเรียนอื่นและลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทำงานให้สำเร็จ
ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบาย เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ ให้นักเรียนคนอื่นโดยละเอียด การวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุด มีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การใช้เหตุผลและความคงทนของความรู้

4. ระดับสร้างเสริม (Fermenting)  ทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียนความขัดแย้งด้านการรู้คิดหรืออภิปัญญาการค้นหาความรู้เพิ่มเติมและการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการสรุปผลทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมการโต้แย้งทางวิชาการได้ ประเด็นสำคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผลและการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่ว การโต้แย้งทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่มเจาะลึกในเนื้อหาความรู้ที่เรียน ระดมหลักเหตุผลในข้อสรุป คิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหา หาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน และอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ทักษะที่ เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งทางวิชาการ ได้แก่
วิจารณ์ความคิดโดยไม่วิจารณ์คน
แบ่งแยกความแตกต่าง เมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
ขอคำชี้แจงในเรื่องการสรุปผลหรือคำตอบของสมาชิก
ขยายความข้อสรุปหรือคำตอบของสมาชิกอื่น โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงในที่นอกเหนือออกไป
ตรวจสอบโดยการตั้งคำถามซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงหรือการวิเคราะห์
ให้คำตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคำตอบหรือข้อสรุปแรก ให้คำตอบที่มีความเป็นไปได้หลายๆคำตอบให้เลือก
ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกรมในเรื่องวิธีการทำงานเวลาที่มีและปัญหาที่กลุ่มเผชิญ
ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คำตอบที่ลึกมีคุณภาพสูงนอกเหนือจากคำตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นความคิดและความอยากรู้อยากเห็นทางพุทธิปัญญาของสมาชิกกลุ่ม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้