การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้


         Joyce and Weil, (1996 : 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่าการสอนมุ่งเน้นการให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้งช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนการเรียนการสอนโดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้านเนื้อหาความรู้และการให้ผู้เรียนใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (Academic Learning) เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80%  ประสบความสำเร็จในการเรียนนอกจากนั้นยังพบว่าบรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน สามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องระมัดระวังไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดูดด่า    ว่ากล่าว แสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน

การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรงประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญสำคัญ 5 ขั้นตอนดังนี้
      ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1  ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนและระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียนและความสัมพันธ์กับความรู้ และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียน         แต่ละขั้นตอน

      ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระข้อความรู้หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรอง และสกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนำเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน

      ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (Structured Practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับ ให้การเสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน

      ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ (Guide Practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยครูผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆผู้สอนจะสามารถประเมินการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียนและช่วยเหลือผู้เรียนโดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ

      ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (Independent Practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้อย่างถูกต้องประมาณ 85 - 90 %แล้ว ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญและการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียวควรมีการฝึกเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ผลที่ผู้ที่เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
การเรียนการสอนแบบนี้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตรงไปตรงมาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทั้งทางด้านพุทธิพิสัยและทักษะพิสัยได้เร็ว ไม่สับสนผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตน จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน (http://www2.souteastern.edu/Academics/Faculty/rhancock/theory.htm#DI) ได้แก่
           1. การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
           2.  การนำเสนอข้อมูลใหม่
           3.  การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับและประยุกต์ใช้


ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
สร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจเพื่อเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งเสร็จสิ้น

ขั้นที่ 2 การนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคำถาม ถามทีละขั้นตอน
การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ด้วยเครื่องมือจำกัดและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตำรา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน

ขั้นที่ 3 การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับและการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้อง เพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและ        ข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคล แม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับ ได้แก่ : การตอบคำถาม การแก้ปัญหา การสร้างโครงสร้าง ต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้