ปัญหาของ Learning Object



สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อดิจิทัลของครูผู้สอน
            ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา การศึกษาสภาพปัญหาของการใช้ Learning Object คณิตศาสตร์ของ สสวท. และความรู้สึกของครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ที่มีต่อ Learning Object คณิตศาสตร์ของ สสวท.ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลเมื่อ
เดือนกุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 90 ท่าน สรุปผลได้ดังนี้
1. จำนวนครูผู้สอนประมาณครึ่งหนึ่งยังไม่รู้จัก Learning Object แต่เมื่อมีการแนะนำให้รู้จัก Learning Object พบว่าครูมีความรู้สึกที่ดีต่อ Learning Object คณิตศาสตร์ และจากการศึกษายังพบอีกด้วยว่าครูมีความสนใจและเห็นว่า Learning Object คณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนสนใจและสร้างความเข้าใจเนื้อหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้  แต่การที่ Learning Object คณิตศาสตร์ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร น่าจะมาจากการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อ Learning Object ของ สสวท. ยังไม่ดีพอ ครูขาดความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์นำเสนอข้อมูล เช่น โปรเจคเตอร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้การขาดแคลนอุปกรณ์การนำเสนอข้อมูล
เช่น โปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ ก็เป็นปัญหาต่อการใช้ Learning Object คณิตศาสตร์เช่นเดียวกัน
2. สำหรับด้านตัวสื่อ Learning Object จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาในระดับเล็กน้อยสาเหตุที่ครูยังมองว่ายังมีปัญหาน่าจะมาจากการที่สื่อยังไม่มีข้อแนะนำที่ชัดเจน หรือขาดคู่มือการใช้งาน ซึ่งยังเป็นข้อกังวลของครูที่คิดว่าถ้านำไปใช้แล้วจะเกิดปัญหาระหว่างการใช้งาน ซึ่งอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีข้อสังเกตว่าครูซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูที่มีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 5 ปีมองว่า Learning Object ช่วยสร้างความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ซึ่งสอดคล้องกับข้อดีของสื่อ Learning Object ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ชื่นชอบเกมคอมพิวเตอร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
3. ด้านความพร้อมของวัสดุ/อุปกรณ์ จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ Learning Object เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดพบว่าข้อที่เป็นปัญหามากที่สุดคือความพร้อมของโปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์สำหรับการนำเสนอข้อมูล ซึ่งโรงเรียนสามารถหาแนวทางแก้ปัญหาได้ ไม่ว่าจัดหางบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ให้มีใช้อย่างเพียงพอ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงศึกษาธิการจัดหางบประมาณมาสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถจัดซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ได้เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนที่นับวันสื่อ ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะสะดวกและประหยัดเวลาในการจัดเตรียมสื่อและการสอนได้
4. ด้านความพร้อมของครูในการใช้สื่อเทคโนโลยี จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ Learning Object เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดพบว่าข้อที่เป็นปัญหามากที่สุดคือความสามารถวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนโดยใช้ Learning Object ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมีปัญหามาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของครูในเรื่องของความต้องการให้มีคู่มือการใช้งาน ซึ่งในคู่มืออาจจะต้องมีตัวอย่างแผนการสอนคณิตศาสตร์ที่ใช้ Learning Object ให้กับครูด้วย ลำดับถัดมาที่ควรพิจารณาคือ ความสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โปรเจคเตอร์ และคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอข้อมูลซึ่งถือว่ามีปัญหาระดับปานกลางค่อนไปทางมีปัญหามาก ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องควรได้ตระหนัก ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์เหล่านี้ แต่ถ้าครูยังมีปัญหาไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ การส่งเสริมให้ครูใช้สื่อ Learning Object ก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้บริหารควรให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตทัศนอุปกรณ์จัดอบรมการใช้อุปกรณ์แก่ครูในโรงเรียน
5. ความรู้สึกของครูที่มีต่อ Learning Object คณิตศาสตร์ของครูผู้สอนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 อยู่ในระดับมาก ซึ่งถือว่าดีมากในการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สสวท. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 และโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จะได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ครูได้ใช้สื่อ Learning Object คณิตศาสตร์ในการเรียน เพียงแต่หน่วยงานที่กล่าวมาข้างต้นจะจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ให้มีความพร้อม 4 รวมทั้งจัดหาสื่อ Learning Object คณิตศาสตร์พร้อมคู่มือการใช้งานแก่ครูผู้สอน


ที่มา : https://sites.google.com/site/udomchaiboonrod/learning-object-sux-kar-reiyn-ru-dicithal

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้