วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ของ Marzano
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ของ
Marzano
โรเบิร์ต
มาร์ซาโน นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า
วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000) โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ ของบลูมและตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน
(standard-based instruction)
รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่าผู้เรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของผู้เรียน
ขั้นตอนวัตถุประสงค์ของมาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้
ระบบทั้งสามประกอบด้วย
1. ระบบตนเอง
(self-system)
2. ระบบอภิปัญญา
(metacognitive
system)
3. ระบบความรู้
(cognitive
system)
เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่
ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรม เช่น ปัจจุบันหรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่
ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด
ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น
และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้
1.
ระบบตนเอง (self-system)
ระบบนี้ประกอบด้วยทัศนคติความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกซึ่งกำหนดแรงจูงใจของแต่ละบุคคลให้ทำภาระงานให้สำเร็จลุล่วง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจคือ ความสำคัญ ประสิทธิภาพและอารมณ์ความรู้สึก ประกอบด้วย
1) ความสำคัญ
เมื่อผู้เรียนเผชิญหน้ากับภาระงาน
การตอบโต้ประการแรกคือตัดสินว่างานนั้นสำคัญต่อตนเองแค่ไหน ใช่สิ่งที่ต้องการเรียน
หรือเชื่อว่าจำเป็นต้องเรียนหรือไม่
การเรียนรู้จะช่วยให้ลุล่วงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่
2) ประสิทธิภาพ
ผู้เรียนที่มีระดับประสิทธิภาพของตนเองสูงเมื่อเผชิญกับภาระงานที่ท้าทายจะปะทะด้วยความเชื่อว่าตนเองมีทรัพยากรที่จะประสบความสำเร็จ
ผู้เรียนจะทุ่มเทให้กับภาระงานอย่างเต็มที่
มุ่งมั่นในการทำงานและเอาชนะการท้าทายวิธีที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้สึกของการมีประสิทธิภาพในตนเองไว้
วิธีที่ทรงพลังที่สุดคือผ่านทางประสบการณ์ที่เคยทำสำเร็จ
ประสบการณ์ดังกล่าวต้องไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ความล้มเหลวที่เกิดซ้ำ ๆ
จะทำให้การมีประสิทธิภาพในตนเองลดลง
แต่ความสำเร็จจากภาระงานที่ง่ายเกินไปจะไม่พัฒนาสำนึกของการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค
3)
อารมณ์ความรู้สึก
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับประสบการณ์การเรียนรู้
ความรู้สึกเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อแรงจูงใจ
เช่น ผู้เรียนที่มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นลบต่อการอ่านหนังสือทางเทคนิคสามารถตัดสินใจที่จะอ่านตำราทางเคมีเมื่อเขารู้สึกตื่นตัวอย่างยิ่งมากกว่าอ่านก่อนที่จะเข้านอน
2.
ระบบอภิปัญญา (metacognitive system)
ระบบอภิปัญญา เป็น “การควบคุม” กระบวนการคิดและดูแลระบบอื่น ๆ ทั้งหมด
ระบบนี้กำหนดเป้าหมายและทำการตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่จำเป็น และกระบวนการความรู้ใดที่เหมาะที่สุดกับเป้าหมาย
3.
ระบบความรู้ (cognitive system)
มาร์ซาโนแตกระบบความรู้ออกเป็น
4 องค์ประกอบ คือ
1)
การเรียกใช้ความรู้
การเรียกใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับการทวนซ้ำข้อมูลจากความทรงจำถาวร ผู้เรียนเพียงแค่เรียกข้อเท็จจริง
ลำดับเหตุการณ์ หรือกระบวนการตามที่เก็บไว้ได้อย่างถูกต้อง
2) ความเข้าใจ
ในระดับที่สูงขึ้น ความเข้าใจต้องระบุสิ่งที่สำคัญที่จะจำและวางข้อมูลนั้นไว้ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม
ดังนั้น
ทักษะแรกของความเข้าใจต้องระบุองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของแนวคิดรวบยอดและตัดทิ้งส่วนที่ไม่สำคัญ เช่น
การเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของเลวิสและคลาค(Lewis
and Clark) ควรที่จะจำเส้นทางซึ่งนักสำรวจใช้
แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนอาวุธที่พวกเขานำติดตัวไป
3) การวิเคราะห์
การวิเคราะห์ คือ การจับคู่ การแยกแยะหมวดหมู่
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด การกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป
การกำหนดเฉพาะเจาะจง ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ผู้เรียนสามารถใช้สิ่งที่กำลังเรียนรู้เพื่อสร้าง
องค์ความรู้ใหม่และคิดค้นวิธีการใช้สิ่งที่เรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่
4) การนำความรู้ไปใช้
เป็นระดับสุดท้ายของกระบวนการความรู้สอดคล้องกับการใช้ความรู้ประกอบด้วย
- การตัดสินใจ
เป็นกระบวนการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการชั่งน้ำหนักทางเลือกเพื่อกำหนดการกระทำที่เหมาะสมที่สุด
- การแก้ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ขัดขวางการไปสู่เป้าหมาย
- การสืบค้นจากการทดลองเกี่ยวข้องการตั้งสมมติฐานต่อปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและทางกายภาพ
- การสำรวจสืบค้น
คล้ายคลึงกับการสืบค้นจากการทดลอง แต่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต
ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่เหมือนการสืบค้นจากการทดลองซึ่งมีกฎที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเป็นหลักฐานที่อยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางสถิติ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น