การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน
การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน
มาร์ซาโน (Marzano.
2001 : 30 – 60)
ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่
ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูล 6 ระดับดังนี้
ประเภทของความรู้
1.
ข้อมูล
เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด
รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ
2.
กระบวนการ
เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น
ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้
3.
ทักษะ
เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้น
กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูล มี 6 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1
ขั้นรวบรวม
เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น
ระดับที่ 2
ขั้นเข้าใจ
เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์
เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ
ระดับที่ 3
ขั้นวิเคราะห์
เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ
การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่ 4
ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์
เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก
การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป
สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้
ระดับที่ 5
ขั้นบูรณาการความรู้
เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ
กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ 6
ขั้นจัดระบบแห่งตน เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการเรียนรู้และภาระ
งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ.
58) จำแนกเป็น
1. ทักษะการจำแนก เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ
ทั้งเหตุการณ์ เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วนย่อย ๆ ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้
2. ทักษะการจัดหมวดหมู่
เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ
จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน
โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน
3. ทักษะการเชื่อมโยง
เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ
ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร
4. ทักษะการสรุปความ
เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่ กำหนดให้
5. การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน
สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ
คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ตาราง
การคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของบลูมและมาร์ซาโน มีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น