การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality
Assurance) หมายถึง
การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้
โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality
Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ
และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการวางแผน
และกระบวนการจัดการของผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่จะรับประกันให้สังคมเชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร
และตรงตามความมุ่งหวังของสังคม เนื่องจากพ่อแม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้สถาบันการศึกษา
และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา
จัดการศึกษาให้แก่ลูกอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ลูกมีความรู้ความสามารถ
ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่างๆ ได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
ตอบสนองต่อความต้องการ ความสนใจ และความถนัดที่แตกต่างกัน และที่สำคัญคือ
ทุกคนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่สังคมต้องการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
ต่อไปไม่ว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองจะส่งลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาใด
จะมีความมั่นใจได้ว่าสถาบันการศึกษามีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสูงเท่าเทียมกัน
ไม่จำเป็นต้องวิ่งเต้นหรือฝากลูกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นระบบที่พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาให้ทัดเทียมกัน
ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงยอมไม่ได้
ถ้าลูกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ในระดับต่างๆ
ดังนั้น ผู้ที่รับประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรง คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา ครู
และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน
รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับอำเภอ จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา กรมเจ้าสังกัด
และกระทรวง ต้องมีการรับผิดชอบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกัน
การประกันคุณภาพการศึกษาแบ่งได้ ดังนี้
๐การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (Internal
Quality Assurance) หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน
โดยวงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act) เป็นการปฏิบัติโดยบุคลากรของสถาบันการศึกษาหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด
ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้นๆ
๐การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (External
Quality Assurance) หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) หรือบุคคล
หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและเป็นการพัฒนาให้มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษานั้นๆ
มีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร?
ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)
ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน หรือเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information
Technology) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้บุคคลต้องมีการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ทันกับยุคและสมัย
การที่บุคคลจะเรียนรู้และปรับตัวได้ดีอันเนื่องมาจากการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
และการศึกษาที่มีคุณภาพจำเป็นต้องมีระบบการศึกษาและการจัดการระบบที่ดี
มีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกๆ ด้าน
ทั้งทางด้านการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาครู การพัฒนาสื่อ
และแหล่งการเรียนรู้
ตลอดจนการสร้างความร่วมมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
และองค์กรต่างๆ
ยุทธวิธีในการทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพได้ดีเพียงใด
ย่อมขึ้นอยู่กับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
และผลกระทบที่สำคัญจากการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
ทำให้ประเทศไทยมีการรับรู้และตื่นตัวในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมต่อประเทศตะวันตก
ความคาดหวังของสังคม ความต้องการของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
และการมีส่วนร่วมทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
สิ่งเหล่านี้ได้ถูกระบุในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษา ดังนี้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย
และหลักการของการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดจุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษา
ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
ระบบประกันคุณภาพภายใน
และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน (Internal
Quality Assurance) มาตรา 48 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายนอก (External
Quality Assurance) มาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
มีฐานะเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก
และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ
และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี
นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย
และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกำหนดในกฎของกระทรวง ซึ่งกฎของกระทรวงศึกษาธิการมี 2 ฉบับ ดังนี้
กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2546
ข้อ 2 วรรคสอง บัญญัติว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา
ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
· ระบบการบริหารจัดการและสารสนเทศ
·
การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
·
การจัดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
·
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
·
การตรวจสอบและการทบทวนคุณภาพการศึกษา
·
การประเมินคุณภาพการศึกษา
·
การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
· การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
กฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์
และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 ข้อ 6 (1) บัญญัติว่า ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาดังต่อไปนี้
· ปรัชญา
ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน
·
การเรียนการสอน
·
กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
·
การวิจัย
·
การบริการทางวิชาการแก่สังคม
·
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
·
การบริหารและการจัดการ
·
การเงินและงบประมาณ
· ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
มีหลักการและจุดมุ่งหมายอย่างไร?
การประกันคุณภาพการศึกษามีหลักการดังนี้
การประกันคุณภาพการศึกษามีหลักการดังนี้
· สร้างความมั่นใจและความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา
·
การป้องกันปัญหา ต้องมีการวางแผนและการเตรียมการ
·
ตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ
·
การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้
·
การดำเนินงานเน้นคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกระดับทุกขั้นตอน
·
การสร้างความรู้ ทักษะ
และความมั่นใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
·
การประสานสัมพันธ์ในองค์กรและบุคลากรในพื้นที่
· การเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหาร
จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย
จุดมุ่งหมายทั่วไป ได้แก่
· เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาในการดำเนินการภารกิจต่างๆ
·
กระตุ้นเตือนให้สถาบันการศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
·
เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา
· เพื่อรายงานสภาพและการพัฒนาในด้านคุณภาพ
และมาตรฐานของสถาบันการศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จุดมุ่งหมายเฉพาะ ประกอบด้วย
· เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา
และประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่กำหนด
และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
·
เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่น–จุดที่ควรพัฒนาของสถาบันการศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จและสาเหตุของปัญหา
·
เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
·
เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
· เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มีกระบวนการอย่างไร?
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
· การควบคุมคุณภาพ (Quality
Control) เป็นกระบวนการดำเนินการของหน่วยงานต้นสังกัดและสถาบันการศึกษาในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
หลังจากนั้นหน่วยงานต้นสังกัดและสถาบันการศึกษาจัดทำแผน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเข้าสู่มาตรฐานที่กำหนดไว้ในด้านการพัฒนาหลักสูตรสื่อการพัฒนาครูและบุคลากร
ธรรมนูญสถานศึกษา ระเบียบการสอน การแนะแนว การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล
ทั้งนี้จะเน้นระบบและกลไกการปฏิบัติงานตามแผนติดตามกำกับการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
·
การตรวจสอบ (Quality
Audit) เป็นการดำเนินการของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดในการยืนยันเป้าหมายที่กำหนด
มุ่งไปสู่มาตรฐานที่ต้องการ โดยการดำเนินการดังนี้
การตรวจสอบและทบทวนการดำเนินงานทั้งระบบด้วยตนเองของสถาบันการศึกษา
เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
และรายงานผลต่อผู้ปกครองและผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษา
การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา
โดยหน่วยงานต้นสังกัด
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและ/หรือใช้มาตรการในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
· การประเมินคุณภาพ (Quality
Assessment) เป็นการประเมินค่าระดับคุณภาพของกิจกรรมเฉพาอย่างในหน่วยงาน
เช่น คุณภาพการจัดการศึกษา คุณภาพของงานวิจัย คุณภาพของการสอน เป็นต้น
การประเมินคุณภาพภายในจะใช้วิธีการศึกษาตนเอง (Self Study) และการประเมินตนเอง (Self Assessment)
ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการดำเนินงานโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
เพื่อประเมินผลและรับรองว่า
สถาบันการศึกษาจัดการศึกษาได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้
ภายในและภายนอกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบ การควบคุม การติดตาม ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นทั้งหมด หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกที่ชัดเจน มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบ การควบคุม การติดตาม ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นทั้งหมด หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกที่ชัดเจน มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ
ส่วนการประกันคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
การติดตาม การตรวจสอบ คุณภาพและมาตร
ฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาซึ่งกระทำโดยหน่วยงานภายนอก หรือผู้ประเมินภายนอก
เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
การประกันคุณภาพภายใน
จะเน้นการตรวจสอบและประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านต่างๆ ของปัจจัยนำเข้า (Input)
และกระบวนการ (Process)
ส่วนการประกันคุณภาพภายนอก
จะเน้นการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในด้านต่างๆ ของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
ดังนั้น
การประเมินคุณภาพภายในย่อมส่งผลถึงการประกันคุณภาพภายนอกโดยตรง
การประกันคุณภาพภายนอก จะใช้ตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานต่างๆ
ในการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา รวมทั้งการตรวจเยี่ยมสถาบัน
ซึ่งในการประเมินต้องคำนึงถึงปรัชญา พันธกิจ
และลักษณะการจัดการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันการศึกษา
โดยสถาบันการศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปี เตรียมเอกสารข้อมูลในด้านต่างๆ
รวมถึงข้อมูลตามตัวบ่งชี้ และรายงานการประเมินตนเอง
มีประโยชน์อย่างไร?
การประกันคุณภาพการศึกษาก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
การประกันคุณภาพการศึกษาก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
· เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่มาตรฐานสากล
·
การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
·
การบริหารจัดการของสถาบันการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
อันจะทำให้การผลิตผู้สำเร็จ
·
การศึกษาทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย
และการให้บริการทางวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด
และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ
·
ผู้เรียน ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน
และสาธารณชนมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ
·
สถาบันการศึกษา หน่วยงานบริการการศึกษา
และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน
และการจัดบริการการศึกษา
·
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกสาระวิชาสูงได้มาตรฐานสม่ำเสมอ
·
ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าว่าจะได้รับผลอะไรจากการเรียนในสถาบันการศึกษาและได้ผลตามความต้องการ
·
ผู้ปกครอง ชุมชน ครู หน่วยงานการจัดการศึกษาในท้องถิ่น
มีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพที่ผสมกลมกลืนระหว่างมาตรฐานสากล
มาตรฐานชาติและมาตรฐานท้องถิ่น
·
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำการจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษา
โดยผนึกกำลังกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน วางแผนการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้บังเกิดผลกับผู้เรียนตามมาตรฐาน
มีการตรวจสอบยอมรับในแผนการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา
·
ครูได้รับการพัฒนาและจูงใจให้วางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เน้นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้นำไปสู่การบรรลุมาตรฐานคุณภาพการเรียนรู้อย่างครบถ้วน
ให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาติดตามตรวจสอบการเรียนการสอน
และช่วยให้คุณภาพการศึกษามีความเป็นระบบระเบียบ
· มีระบบการวัดประเมินผลตามสภาพจริง
มุ่งตรงต่อการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ และบันทึกลงแฟ้มผลงานที่ผู้บริหารและครูตรวจสอบผลการเรียนและบันทึกผล
นำผลมาใช้เพื่อการพัฒนาและรายงานสู่ชุมชนสม่ำเสมอว่า
การจัดการเรียนการสอนทำให้บังเกิดผลตามเป้าหมายคุณภาพการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ดีเพียงใด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น