การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล



ความสําคัญของการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
UDL มีความสําคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการเรียนการสอน ที่ประกอบไปด้วย จุดหมาย (goal) วิธีการ (method) วัสดุอุปกรณ์ (materials) และการประเมินผลการเรียนรู้ (assessment) สําหรับผู้เรียนทุกคน วิธีการใดวิธการหนึ่งเพียงวิธีเดียวจะไม่เหมาะสมกับทุกการแก้ปัญหา แต่จะเป็นการออกแบบที่มีวิธีการที่มี ความยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งได้และปรับตามความต้องการของบุคคล แต่ละบุคคลต่างมีความหลากหลาย
ของทักษะ ความต้องการและความสนใจที่จะเรียนรู้ ทางด้านประสาทวิทยากล่าวได้ว่าคล้ายกับระบบการ ทํางานของสมอง 3 ส่วน ดังนี้ 1) เครือข่ายการรับรู้ (Recognition Networks) วิธีการที่เรารวบรวมข้อเท็จจริง และจัดประเภทของสิ่งที่เรามองเห็นได้ยินและอ่าน ตัวอักษรระบุคําหรือลักษณะของผู้เขียนเป็นภาระงานที่ เป็นการรับรู้สิ่งที่จะเรียน (อะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้: The "what" of learning ) 2) เครือข่ายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Networks) การวางแผนและการปฏิบัติงาน วิธีการที่เราจัดระเบียบและแสดงหลักฐานทางความคิด ของเรา การเขียนเรียงความหรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างถือเป็นงานเชิงกลยุทธ์ ("วิธีการ" ของการ เรียนรู้: The "how" of learning) และ 3) เครือข่าย (Affective Networks) จะมีวิธีเรียนรู้อย่างไรที่จะกระตุ้นและ สร้างแรงบันดาลใจ เป็นสิ่งที่ท้าทายและเร้าความสนใจของผู้เรียน เป็นมิติอารมณ์ ("ทําไม" ของการเรียนรู้ :The "why" of learning)
การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ซึ่งถือว่าเป็น อีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ

ระดับในการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
ระดับในการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้


ภาพประกอบที่ การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล

ระดับที่ 1 การนําเสนอ การจัดการเรียนรู้ตามหลักการการออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้ (UDL) ควรใช้รูปแบบการนําเสนอที่หลากหลายวิธี ได้แก่
- การใช้ข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือข้อมูลที่สัมผัสได้
- การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่หลากหลาย
- การให้โอกาสผู้เรียนได้ทําความเข้าใจบทเรียนและทบทวนความรู้นั้น
ระดับที่ 2 การสื่อสาร การให้ผู้เรียนได้แสดงออกในการเรียนรู้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ ได้แก่
- การใช้ภาษากาย
- การพูด การสนทนาโต้ตอบ
- การใช้การทํางานของสมองระดับสูง (Executive Function)
ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วม เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ ได้แก่
- การพยายามชักจูงความสนใจ โดยให้อิสระในการเลือก
- สนับสนุนให้ใช้ความพยายามในการทางาน
- เสริมสร้างทักษะการกํากับตนเอง (Self-regulation)

แบบการเรียนรู้ (Learning Styles)
          คําว่า Learning Styles ในคําภาษาไทยใช้คําว่า ลีลาการเรียนรู้ หรือแบบการเรียนรู้ หรือวิธีการเรียน ที่เป็นการปฏิบัติของผู้เรียนในการจัดการเกี่ยวกับการเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของ หลักสูตร ซึ่งแตกต่างกันไปตามสติปัญญา ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน และสภาพแวดล้อมทางการเรียน
แบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นความคงที่ในการตอบสนองและการใช้สิ่งเร้าในบริบทของ การเรียนรู้ อาจกล่าวได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยกลวิธีหรือวิธีการที่สนองตอบกับความต้องการ ของผู้เรียน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีแบบการเรียนรู้ของตนเอง ไรซ์แมนและกราส์ซา และเดวิด เอ คอล์บ ได้นําเสนอแบบการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman (1980 cited in Nova Southeastern University, 2004 : 31) จัดผู้เรียนตามแบบการเรียนรู้ได้ 6 แบบ คือ
        1. แบบอิสระ (Independent Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้เฉพาะตนเอง แสวงหาความรู้และ ประสบการณ์ด้วยตนเอง จะเรียนรู้เนื้อหาวิชาเฉพาะที่ตนเห็นว่ามีความสําคัญ เชื่อมั่นในความสามารถการ เรียนรู้ของตนเอง แต่ก็รับฟังความเห็นของผู้อื่น
        2. แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนการสอน ผู้เรียนไม่สนใจเนื้อหาวิชาที่จัดให้ ไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
        3. แบบร่วมมือ (Collaboration Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ชอบที่จะทํางานร่วมกันกับผู้อื่น เรียนรู้ได้ดีด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถือห้องเรียนเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาตลอดจนกิจกรรมนอกหลักสูตร
         4. แบบพึ่งพา (Dependent Style) ) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการคําบอกเล่าว่าต้องทําอะไร อย่างไรและเมื่อไร ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการรับคําสั่ง หรืองานที่มอบหมาย อาจารย์และเพื่อนจะเป็นแหล่งความรู้ มีความต้องการเรียนรู้เฉพาะจากสิ่งที่กําหนดให้เรียนเท่านั้น
         5. แบบแข่งขัน (Competitive Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่จะพยายามทําให้ดีกว่าคนอื่น ผู้เรียน ค้นหาความรู้โดยใช้หลักในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามที่จะทําสิ่งต่างๆ ให้ได้ดีกว่าคนอื่น ใช้หลักในการเรียนรู้ เรียนเพื่อให้มีผลการเรียนดีกว่าเพื่อนในชั้นเรียน ต้องการรางวัลในชั้นเรียน เช่น คําชม หรือสิ่งของหรือ คะแนน มีลักษณะการแข่งขันแบบแพ้ชนะ
          6. แบบมีส่วนร่วม (Participant Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด ในกิจกรรมในชั้นเรียน ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เนื้อหาวิชาในห้องเรียนและชอบที่จะเข้าชั้นเรียน แต่ไม่ต้องการที่ จะร่วมกิจกรรมที่ไม่อยู่ในรายวิชาที่เรียน
David A. Kolb (1995 อ้างในคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543 : 19-20) จัดกลุ่มผู้เรียนตามแบบการเรียนเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
         1. แบบนักปฏิบัติ (active experimentation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้เกิดจากการกระทําควบคู่ไปกับการคิด
         2. แบบนักสังเกต (reflective observation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ แล้วนํามาจัดระบบระเบียบเป็นความรู้
         3. แบบนักคิดสร้างมโนทัศน์ (abstract conceptualization) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยวิเคราะห์ และสังเคราะห์ การรับรู้ที่ได้เป็นองค์ความรู้
         4. แบบนักประมวลประสบการณ์ (concrete experience) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยการ วิเคราะห์ และประเมินด้วยหลักเหตุผล
McCarthy (อ้างในศักดิ์ชัย นิรัญทวีและไพเราะ พุ่มมั่น, 2542 : 7-11) ได้ขยายแนวคิดของคอล์บ โดยเสนอแบบการเรียนรู้ 4 แบบ ดังนี้
         แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (imaginative learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส และประมวลกระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต นําไปสะท้อนความคิดเชิงเหตุผล ผู้เรียนกลุ่มนี้มักถามถึง เหตุผลว่า ทําไม (why) ผู้เรียนมักถามว่า ทําไมต้องเรียนสิ่งนั้นสิ่งนี้ จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อน สิ่งอื่น ๆ แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่อง ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ ค้นหาเหตุผลและสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อ อภิปราย โต้วาที ใช้กิจกรรมกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียน หรือระหว่างเรียน
        แบบที่ 2 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (analytic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านการประมวล ข้อมูล โดยนําสิ่งที่รับรู้มาประมวลกับประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะถามเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง คําถามที่สําคัญคือ อะไร (what) ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อนําไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (concept) หรือจัดระบบระเบียบของความคิด ผู้เรียนกลุ่มนี้มุ่งเน้น รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง จะยอมรับผู้รู้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีอํานาจสั่งการเท่านั้น ผู้เรียน กลุ่มนี้จะเรียนก็ต่อเมื่อรู้ว่า จะต้องเรียนอะไร อะไรที่เรียนได้ สามารถเรียนได้ดีจากการบรรยาย การ ทดลอง การทํารายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
       แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสํานึก (Common sense learners) ผู้เรียนจะรับรู้โดยผ่าน กระบวนการคิดจากสิ่งที่เป็นนามธรรม กระบวนการเรียนรู้ได้จากการทดลองหรือปฏิบัติจริง มีการมองหา กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนความรู้เพื่อนําไปใช้ คําถามที่สําคัญคือ อย่างไร (how) ผู้เรียนกลุ่มนี้สนใจทดสอบ ทฤษฎีหรือปฏิบัติจริง โดยวางแผนนําความรู้ในภาคทฤษฎีที่เป็นนามธรรมไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมใน ชีวิตจริง ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ ใฝ่หาสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่
ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงหรือไม่ สนใจที่จะนําความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง อยากรู้ว่าจะทําได้ อย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนที่ควรเป็นก็คือ การทดลอง การ ให้ปฏิบัติจริง ทําจริงหรือสถานการณ์ จําลองก็ได้
       แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการปรับเปลี่ยน (dynamic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านสิ่งที่เป็น รูปธรรมและผ่านการกระทํา คําถามที่สําคัญคือ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ (1) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยลงมือทํา ในสิ่งที่ตนเองสนใจ และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคําแนะนํา แล้วนําข้อมูลมา ประมวลเป็นความรู้ใหม่ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะมองเห็นความซับซ้อนของสิ่งที่เรียนรู้ สามารถสร้างผังความคิด แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แล้วนําเสนอเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่ การสอนผู้เรียนกลุ่มนี้ใช้วิธีการสอน แบบค้นพบด้วยตนเอง (self discovery method)

            แบบการเรียนรู้ (learning styles) เป็นเพียงการจัดกลุ่มที่มีลักษณะโดยรวมเท่านั้น ไม่อาจจําแนกได้เฉพาะเจาะจงว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มของแบบการเรียนแบบใดแบบหนึ่ง ดังที่การ์ดเนอร์ (howard gardner) ที่ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะและ คณิตศาสตร์ ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ค้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านการรู้จักตนเอง ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และด้านความเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสามารถใช้แบบการเรียนรู้ที่มาจากสติปัญญา หนึ่งด้านหรือสองด้านเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลสูงสุด โดยปกติผู้สอน ทดสอบ และการ ได้รับข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยสติปัญญาสองด้าน คือ ภาษา (verballinguistic) และเหตุผล (logical/mathematical) การนําแนวคิดพหุปัญญามาใช้ควรจะเป็นการใช้คุณลักษณะเด่นของสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ประการสําคัญผู้สอนต้องคํานึงอยู่เสมอว่าในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ มี ผู้เรียนทุกแบบการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจําเป็นต้องใช้แบบการสอน (teaching style) ที่หลากหลายเพื่อ ตอบสนองแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ครอบคลุม ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถของตนเองเต็มตาม ศักยภาพ

พหุปัญญา (Multiple Intelligences)
Howard Gardner (2011) Gardner, Howard. Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic Books,2011. ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและ ปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียง พอที่จะชี้นําไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ที่แนวคิดเดิมเน้นปัญญาของ มนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญาที่หลากหลาย หรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน ผู้เรียน อาจจะทําได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์ หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่า คนที่ แค่จําหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
          1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคํา (“word
Smart”)
          2. ปัญญาด้านตรรกะ คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence) เป็นปัญญา สามารถทางด้านจํานวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning smart)
          3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ สามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพและสามารถจําลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture smart)
          4. ปัญญาทางด้านดนตรี Musical intelligence เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ มสามารถและชื่นชมในเสียง ทํานองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทํานอง จังหวะได้ดี (“music smart”)
          5. ปัญญาด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย และในการใช้มือเพื่อจัดกระทํากับสิ่งของ (“body
smart”)
          6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ ในการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์ ความคิดความปราถนาของ ผู้อื่น (“people smart”)
         7.ปัญญาด้านด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถ เข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self smart”)
         8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (“nature smart”)
สาระสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ในตน และปัญญาแต่ละด้าน สามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้ การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า ปัญญาทั้ง 2 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว คําแนะนําที่ดีก็คือ ไม่ทุ่มเทไปที่ ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้