บทที่ 4
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(Universal Design for Instruction)
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal
Design for Instruction UDI) เป็นการ
ออกแบบการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive-การกระทําโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น)
เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational
products (computers, websites, software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union
buildings, libraries, and distance learning courses), ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนนําความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอน
กระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกําหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร
วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า
การเรียนรู้ นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์
จาก ลักษณะนี้เองจึงทําให้เกิดแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic
Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons
1981 : 5, Hannum and Hansen, 1989)
เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนนี้ แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs) ได้เปรียบเทียบการ
เรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ
ในการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการมีความสําคัญพอๆ กับผลิตผล
เพราะว่าความเชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ
ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล ต้องดําเนินตามขั้นตอนของ
แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น
ลําดับขั้นตอนของแบบจําลองการ ออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น
ลําดับขั้นของภาระงานจะต้องแสดงออกมา และผลที่
ได้รับที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษก็จะเกิดขึ้นดัง
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่
นําเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค
และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง
ผู้ออกแบบจําเป็นต้องให้คําแนะนําในการออกแบบกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา (content
expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไป
ผู้ออกแบบก็สามารถจัดทําได้อย่างอิสระ
มากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
ผู้ออกแบบสามารถที่จะทํางานเป็นผู้ให้คําปรึกษาจาก ภายนอก
และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมด เหมือนกับเป็นคนในสํานักงาน (in-house
employers) ซึ่งได้รับ
ความช่วยเหลือจากผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ
ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow, 1990 : 7-9) คือ
1. ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี
และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วย
ไม่จําเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ ความชํานาญทาง เนื้อหาวิชา
2. ผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ที่ได้รับการร้องขอให้ทํางานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมี ความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจําเป็นที่จะทํางานกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย
และ ดังนั้นจึงจําเป็นต้องเลือกและทํางานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจํานวนมาก
นับว่าเป็นเรื่องสําคัญด้วยเหมือนกัน
ที่จะให้ความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ
เพราะว่าข้อกําหนดในความสําเร็จของทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน
ผู้ที่เป็นนักวิจัยสนใจในแต่ละขั้นตอน ของรูปแบบทั่วไป ดังนั้น
ความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้ปฏิบัติ (ID practitioner) จึงแตกต่างออกไป ความสนใจและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน
ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3
ผู้ออกแบบที่เป็นนักปฏิบัติ
สามารถแสดงออกในแต่ละขั้นตอนจากการวิเคราะห์ไปจนถึงการ ทดลอง
ขึ้นอยู่กับว่าจะพรรณนางานว่าอย่างไร ถ้างานของผู้ออกแบบระบุไว้อย่างแคบๆ
แล้วผู้ออกแบบแสดง เพียงสองถึงสามขั้นตอนเท่านั้น โดยละทิ้งขั้นตอนที่เป็นผลิตผล
การนําไปใช้ และการประเมินผล
นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID remember) หรือผู้เชี่ยวชาญ (specialist) สนใจศึกษาตัว แปรและพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอน
นักปฏิบัติการออกแบบการเรียนสอน (ID practitioner or generation) สนใจการประยุกต์งานวิจัย และทฤษฎีการพัฒนาการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์
บทบาท อื่นๆ ของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงไว้ในตารางที่ 3 ส่วนบทบาทของผู้ปฏิบัติการ ออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงในตารางที่ 13
สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มีอายุประมาณ 30 ปี
เป็นบทบาทของนักวิจัยที่จะส่งเสริม ความงอกงามในทฤษฎีของการออกแบบการเรียนการสอน
และเนื่องจากว่าการออกแบบการเรียนการสอน เป็นสาขาวิชาประยุกต์
บทบาทของนักวิจัยจึงอาจดูเหมือนว่าแยกตัวออกไปตามลําพังและมีความสําคัญน้อย
สิ่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าปราศจากกระบวนการทางทฤษฎีแล้ว
สาขาวิชาก็จะเฉื่อยชาอยู่กับที่ ความมุ่งหมายของนักออกแบบการเรียนการสอน คือ
ความจําเป็นที่จะต้องรู้ว่าตนสามารถที่จะก้าวไกลได้ใน หนทางแห่งอาชีพของตนเอง
ถ้ารับรู้วิธีการวิจัยที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (Seels and Glasgow, 19990 : 10)
งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้
ความชํานาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน
ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์
ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา
ผู้จัดการ
โครงการอาจจะนําทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสําหรับการอุตสาหกรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จําเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป
ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ใน
การทําภาระการออกแบบการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (Marzano: 2012) ได้นําเสนอกลวิธีการ
จัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วน คือ
ภาพประกอบที่ 1 ประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน
1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating
the Environment for Learning) ซึ่งกลวิธีในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นพื้นฐานสําคัญให้กับการเรียนในทุกบทเรียน
เมื่อครูสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ย่อมจูงใจและทําให้ผู้เรียนเกิดความคาดหวังและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
โดยการดูแลให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการ เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ตลอดจนเรียนรู้การติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
2) การช่วยพัฒนาความรู้ความ เข้าใจให้กับผู้เรียน (Helping students Develop
Understanding) กลวิธีในส่วนที่ 2 นี้เป็นการช่วยผู้เรียนใน
การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดลําดับองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้เก่ากับองค์ความรู้ใหม่
จัดการกับความรู้ ตรวจสอบความรู้ สร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและเรียนรู้
กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ (1) การสร้างขั้นตอนที่จําเป็นในแต่ละกระบวนการ
หรือทักษะ (2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย
(3)ปฏิบัติ ตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา
3) ช่วยผู้เรียนในการขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ (Helping students Extend and Apply Knowledge) กลวิธีในส่วนที่ 3 คือ ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ คือ เป็นการ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากกว่าคําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายองค์ ความรู้ โดยนําความรู้กับไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) โดยใช้กระบวนการของเหตุ และผล และถึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
จากกลวิธีการสอนดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามหลักการ Universal Design (UD) จะเกี่ยวข้องกับการ
ออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่คนในทุกช่วงอายุและความสามารถที่แตกต่างกันสามารถ
ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (Story, Mueller, & Mace, 1998) เมื่อนํา Universal Design (UD) มาใช้
ทางการศึกษาจึงเป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทุกคน ได้แก่
การสอนที่ใช้สื่อ และ วิธีการแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การร่วมกันอภิปราย
การทํางานกลุ่ม การสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ต ใช้ ห้องปฏิบัติการ การออกฝึกภาคสนาม
เป็นต้น รวมทั้งการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อผู้เรียนหลายระดับ
ความสามารถในห้องเรียน (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2555: 4-6)
Universal Design (UD) ถูก
นํามาใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา อาทิ คอมพิวเตอร์ เว็ปไซต์ ซอร์ฟแวร์
หนังสือคู่มือ และเครื่องมือที่ ใช้ในห้องทดลอง ฯลฯ
และนํามาปรับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ หอพัก ห้องเรียน อาคารศูนย์ประชุม
ห้องสมุด และคอร์สรายวิชาเรียนทางไกล
ความสําคัญของการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for UDI) คือ
แนวทางการสอนที่ ประกอบด้วยการออกแบบเชิงรุก และใช้กลวิธีการเรียนการสอนแบบรวม (inclusive
instructional strategies ) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในวงกว้าง
ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ
(responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for
Instruction : UDI) ให้ความสําคัญกับหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ
เทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ โดยทั่วไปที่จัด ให้ผู้เรียนถูกออกแบบมาให้กับผู้เรียนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย, แต่ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
จะต้องขยายขอบเขตสําหรับผู้เรียนที่มีหลากหลายลักษณะ
คํานึงถึงผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาและ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในการออกแบบดังกล่าวมุ่งที่ผลิตภัณฑ์ในการศึกษาและการจัด สภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลได้มากเท่าที่จะทําได้ "(Story,
Mueller, and Mace, 1998)
การออกแบบสากลในการศึกษา
Universal Design (UD) เป็นการอํานวยความสะดวกสาหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็น
สําหรับใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นการนําหลักการ Universal Design
(UD) มาใช้ในการศึกษา จึงสามารถลด
อุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา
เพื่อให้ผู้ที่มีความแตกต่างกัน
สามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด Strangeman,
Hitchcock, Hall, Meo, & et al :2006 จาก
มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นคาโรลาโด ได้นําแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนใน 2 ลักษณะ คือ Universal Design for Instruction (UDI) และ Universal Design for Learning (UDL) โดยที่ UDI เป็นการ ออกแบบการสอน รวมไปถึงวิธีการสอน การจัดเนื้อหา การประเมินผล
และหลักสูตร ส่วน UDL เป็นเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับออกแบบสภาพการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
ภาพประกอบที่ 1 ประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนใน
การออกแบบสากลในการศึกษา (Universal Design in Education) ถูกนําไปใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการ
ศึกษาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ ตําราและอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ
รวมถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆ เช่น ห้องรับแขก ห้องเรียน อาคารสหภาพนักศึกษาห้องสมุด
และหลักสูตรการเรียนทางไกล แตกต่าง
จากที่พักสําหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่นักเรียนทุก คนรวมถึง ผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน
ส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างการใช้งานทั่วไป ในการตั้งค่าทางการศึกษา:
ช่องว่างทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การสอนและบริการของนักเรียน
แตกต่างจากที่พักสําหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่
นักเรียนทุกคนรวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน
ส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างของ การใช้งานทั่วไปในการตั้งค่าทางการศึกษา:
พื้นที่ทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การสอนและ
บริการของนักเรียน
การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน
(Universal
Design for Instruction :UDI)
การนําแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มี
ความต้องหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า
ผู้เรียนแต่ละคนมี ลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย
ซึ่งการนํา UD ไปใช้ในการศึกษาเพื่อ
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน
และส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton,
2008)
Scott, Shaw and McGuire (2001) ได้เสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ไว้ 9 ประการ ในการออกแบบการสอนที่เป็นสากล (Universal
Design of Instruction หรือ UDI) ได้รับการ
พัฒนามาจากการศึกษาค้นคว้างานเขียนและงานวิจัยเกี่ยวกับหลักการในการออกแบบที่เป็นสากล
(Universal Design หรือUD) และการเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ครูผู้สอนใช้ในการครุ่นคิด
ไตร่ตรอง โดยนําไปใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ
หรือใช้เพื่อพิจารณาการ สิ่งที่ทําอยู่แล้ว ณ ปัจจุบันก็ได้ แล้วแต่ความจําเป็นของผู้สอนแต่ละท่าน
หลักการทั้ง 9 ประการนี้จะแสดงให้
เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการสอน หรือเป็นแนวทางในการสอน
ไม่ว่าจะเป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน หรือการขยายประสบการณ์การเรียนรู้
หรือการพิจารณาว่าจะสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก ทุกคนได้อย่างไร
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้สอนจะใช้หลักการทุกข้อกับการเรียนการสอนทุกด้านพร้อม ๆ
กันได้ แต่เมื่อดูชั้นเรียนโดยองค์รวม จะพบว่าหลักการแต่ละข้อจะเข้ามามีบทบาท
หลักการทั้งหมดนี้มี ประโยชน์สําหรับผู้สอนทุกท่าน
ไม่เว้นแม้แต่ผู้มีประสบการณ์ชําชองจากสาขาวิชาต่าง ๆ และมีประโยชน์
สูงสุดสําหรับผู้สอนมือใหม่หรือครูผู้ช่วยสอนที่ต้องการคําแนะนําและแนวทางในการสอน
Scot, Shaw and McGuire (2003 : 369 - 379) ได้นําเสนอหลักการในการออกแบบการเรียนการ
สอนที่เป็นสากลไว้ 9 ประการ ดังนี้
ภาพประกอบที่ 1 Scot, Shaw and McGuire
1. ความเสมอภาคในการใช้งาน (EQUITABLE
USE)
เป็นการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สําหรับคนทุกคน
ข้อมูลและอุปกรณ์ต้องใช้
งานได้อย่างราบรื่นโดยกลุ่มนักเรียนที่เยอะขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น
หมายถึงการใช้อุปกรณ์การ เรียนการสอนที่เหมือนกัน "เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้
และใช้อุปกรณ์ที่เทียบเท่าเมื่อใช้อุปกรณ์ที่เหมือนกัน ไม่ได้" ตัวอย่างเช่นข้อความดิจิทัลในรูปแบบที่ใช้ได้กับซอฟต์แวร์อ่านข้อความหลาย
ๆ ชนิด และมีลิงก์ เชื่อมโยงไปยังข้อมูลเบื้องหลังสําหรับนักเรียนทุกคน
2. ความยืดหยุ่นในการใช้ (FLEXIBILITY
IN USE)
เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนที่มีความหลากหลายได้ใช้ได้เช่นเดียวกัน
ต้องมี ตัวเลือกหากผู้เรียนต้องการฟังเนื้อหาต้องทําได้
หรือจะพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารที่จับต้องได้ก็ต้องทําได้ และ
ยังต้องปรับขนาดและความคมชัดของตัวอักษรได้เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนที่มีปัญหาด้านสายตา
ผู้สอนควร จัดเตรียมวิธีการสอนที่หลากหลาย
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้เกี่ยวกันในหลายรูปแบบ
3. ง่ายและเป็นธรรมชาติ (SIMPLE AND
INTUITIVE)
เป็นการออกแบบที่ทําให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานง่าย
สิ่งสําคัญในการเรียนรู้คือความเข้าใจเนื้อหาที่ เรียน
ไม่ใช่วิธีในการทําความเข้าใจ (วิธี ไม่สําคัญ สําคัญคือเข้าใจ)
เมื่อผู้สอนจะนําหลักการนี้ไปใช้จึงต้องใช้ ตารางคะแนนช่วย
(ในตารางจะเขียนว่าต้องเข้าใจอะไรอย่างไร)
4. สารสนเทศที่ช่วยให้รับรู้ได้ (PERCEPTIBLE
INFORMATION)
เป็นการออกแบบที่ทําให้ผู้เรียนแต่ละคนเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน
ข้อมูลสารสนเทศความรู้จะ ถูกนําเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะที่สามารถเข้าถึงได้
(ตัวอย่างเช่นเมื่อพูดถึงกราฟิกจะมีการอธิบาย หรือใช้
แท็กสําหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา
ส่วนคําบรรยายมีไว้สําหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน
และเอกสารการอ่านทั้งหมดจะมีให้ในรูปแบบดิจิทัลที่เข้าถึงได้)
5. การยอมรับว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น (TOLERANCE
FOR ERROR)
เป็นการออกแบบที่คํานึงความปลอดภัยของผู้เรียน (ในฐานะใช้)
ผู้สอนต้องเข้าใจว่าผู้เรียนมี ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และมีแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
ผลก็คือประสิทธิภาพของการสอนก็ย่อมแปรผัน ไปเช่นเดียวกัน
ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนแบ่งโครงงานใหญ่ ๆ ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ มาส่งก่อน
เพื่อจะได้นํา ข้อเสนอจากผู้สอนไปปรับปรุงโครงงานโดยรวม
6. ความสามารถทางกายภาพที่ต่ำ (LOW
PHYSICAL EFFORT)
เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้มีความเมื่อยล้าในการใช้น้อยที่สุด
เมื่อความพยายามทางกายภาพ ไม่ได้เป็นส่วนสําคัญของหลักสูตรายวิชา
ความพยายามทางกายภาพควรจะขจัดให้หายไปเพื่อที่ผู้เรียนจะ "เพิ่มความสนใจในการเรียนรู้" ดังนั้นการลดอุปสรรคการเรียนรู้ในทางกายภาพก็เป็นดีในการเรียนรู้สําหรับ
ผู้เรียนบางคน
7. ขนาดและพื้นที่สําหรับการประยุกต์ใช้และการใช้
(SIZE AND SPACE FOR APPROACH AND USE)
เป็นการออกแบบเพื่อผู้ใช้ที่มีขนาดร่างกายที่แตกต่างกันใช้ได้อย่างสะดวก
พิจารณาความ ต้องการของผู้เรียนภายในพื้นที่ที่กําหนดไว้
โดยให้ความสําคัญกับการเปลี่ยนแปลงในขนาดร่างกาย ท่าทาง การเคลื่อนไหว
และความต้องการของนักเรียน
8. ชุมชนของผู้เรียน (A COMMUNITY OF
LEARNERS)
เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อม
(ทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์)
ที่รู้สึกปลอดภัยและสนับสนุนการโต้ตอบระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง
รวมทั้งระหว่างนักเรียนและผู้สอน
9. บรรยากาศในการสอน ( INSTRUCTIONAL
CLIMATE)
เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ที่สภาพแวดล้อมได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้เรียนทุก คน สื่อสารให้นักเรียนรับรู้ว่าผู้สอนมีตั้งความคาดหวังไว้สูงสําหรับผู้เรียนทุกคน
อาจารย์ผู้สอนสามารถ
เริ่มต้นกระบวนการนี้ได้ทั้งในหลักสูตรกับคําแถลงเกี่ยวกับความคาดหวังในการเคารพต่อความแตกต่างและ
ความหลากหลายรวมถึงข้อความกระตุ้นให้นักเรียนเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ที่ได้รับการรับรอง
หรือสงสัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น