Universal design for instruction


Universal design for instruction คือ
UDI เป็นการออกแบบสาหรับการสอนสาหรับการเรียนร่วมสาหรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายอันรวมไปถึงผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ (Scott, McGuire & Embry, 2002)ซึ่งการออกแบบต้องสอดคล้องหรือคานึงถึงลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีความเหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันในห้องเรียน
การประยุกต์หลักการของ Universal Design for Instruction (UDI) มาใช้ในการเรียนการสอนทาได้ดังนี้ (Burgstahler, 2009)
1. การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ให้เป็นบรรยากาศที่เคารพในความเป็นอัตบุคคลของผู้เรียน อาจเขียนไว้ในแนวการสอนที่ให้ผู้เรียนได้บอกความต้องการของตนเองในการเรียนเรื่องนั้น ๆ ด้วย หรือหากมีนักศึกษาพิการ ก็ให้นักศึกษาได้มีโอกาสบอกข้อจากัดในการเรียนรู้ของเขาด้วย
2. การมีปฏิสัมพันธ์ ให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และในกลุ่มผู้เรียนกันเอง หรือออกแบบงานกลุ่มที่ให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้เปลี่ยนบทบาทต่าง ๆ
3. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ โดยจัดสภาพแวดล้อม สื่อ กิจกรรมให้สะดวก ปลอดภัยสาหรับผู้เรียนทุกคน ทั้งผู้เรียนที่ตาบอด หรือนั่งรถเข็น
4. ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ออกแบบกิจกรรมหรืองานที่ให้ผู้เรียนเลือกได้ตามความถนัดและความสามารถ
5. ข้อมูลสารสนเทศและสื่อเทคโนโลยี เช่น เอกสารประกอบการสอน สื่อการสอนและข้อมูลอื่นๆ มีความยืดหยุ่นพอสาหรับนักศึกษาทุกคนทุกประเภท เช่น แจกคาอธิบายรายวิชาและเอกสาร6
ประกอบก่อนเริ่มสอน เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนรู้ได้ช้าได้อ่านล่วงหน้า หรือปริ้นท์เอกสารเป็นอักษรเบรลล์เพื่อนักศึกษาตาบอดได้อ่านเช่นเดียวกันกับเพื่อน เป็นต้น
6. มีการสะท้อนผลงานของนักศึกษาเป็นระยะๆ สาหรับโครงการที่นักศึกษาทา เพื่อให้สามารถปรับปรุงงานได้ทันก่อนจบโครงการ
7. มีวิธีการประเมินผลการเรียนและใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เช่นในบางกรณีอาจประเมินผลงานกลุ่ม งานบางชิ้นก็ประเมินเป็นรายบุคคล เป็นต้น
8. ปรับสื่อสิ่งอานวยความสะดวกให้เหมาะสมสาหรับนักศึกษาพิการในห้องเรียน เช่น จัดหรือแลกเปลี่ยนห้องเรียนที่มีความสะดวกสาหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ปรับตารางสอนให้ยืดหยุ่นสาหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ เช่น เจ็บป่วยบ่อย ๆ ต้องพบแพทย์เสมอในเวลาที่ต้องเรียนวิชานั้น ๆ เป็นต้น
ดังนั้นในมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาพิการที่อาจจะมีความพิการต่างกันหลายประเภท ทั้งกลุ่มที่มองเห็นความพิการด้วยตาเปล่า คือ มีร่างกายพิการ ตาบอด และหูหนวกหูตึง กับกลุ่มที่มีความบกพร่องด้านอื่น ๆ ที่มองไม่เห็นความพิการด้วยตาเปล่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม และความบกพร่องทางการสื่อสาร ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่รับเข้าเรียนเท่านั้น ควรจะจัดการเรียนการสอนและจัดบริการที่เอื้อต่อผู้เรียนที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสมเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคลเช่นกัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้